กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/428
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The learning styles of Chinese language (mandarin) in students from the Faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กนกพร ศรีญาณลักษณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ภาษาจีน - - การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ระบบการเรียนการสอน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ชั้นปีและกลุ่มวิชา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1-4 ที่เรียนวิชาภาษาจีนในปีการศึกษา 2550 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนปนะมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ เกี่ยบกับรูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยผู้วิจัยพัฒนาจากแบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ของกราชราและไรช์แมน (Grasha and Riechmann) มีค่าความเชื่อมั่น .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ค่่าความเบี่บงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าที (t-test) และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย = 3.71) อยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็นแบบอิสระ (ค่าเฉลี่ย = 3.45) แบบร่วมมือ (ค่าเฉลี่ย = 3.43) แบบพึ่งพา (ค่าเฉลี่ย = 3.19) และแบบแข่งขัน (ค่าเฉลี่ย = 2.70) อยู่ในระดับปานกลาง และแบบหลีกเลี่ยง (ค่าเฉลี่ย = 2.08) อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีเพศต่างกันมีรูปแบบการเรียนภาษาจีนไม่แตกต่างกัน นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ชั้นปีต่างกันมีรูปแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง และแบบพึ่งพา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระกดับ .05 นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่กลุ่มวิชาต่างกันมีรูปแบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยง และแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of this study was to examine and compare the learning styles of students from the Faculty of Humanities and Social Sciences in studying the Chinese language (Mandarin). The student were grouped based on gender, class levels, and subject groups. The sample consisted of 132 students who were studying Chinese language (Mandarin) during the 2005 academic year at the Faculty of Humnities and Social Sciences, Burapha University. The research instrument used in collecting the data was a five rating-scale Chinese language learning styles questionnaire developed from Grasha and Riechmann's which had a reliability coefficient of .89. The statistical techniques for data analysis are percentage, men, standard deviation, t-test One-Way ANOVA. The findings are as follower : 1. The majority of respondents chose Participant Chinese language learning style (mean = 3.71) follwed by Independent (mean = 3.45), Collaborative (mean = 3.43), Dependent (mean = 3.19), Competitive (mean = 2.70) and Avoidant Styles (mean = 2.08) respectively. 2. The Chinese language learning styles of student who had been grouped by gender were not significantly different. 3.The Avoidant and Dependent chinese language learning styles of students grouped by class levels were different at the statistical significance of .05. 4.The Avoidant and Participant Chinese language learning styles of students grouped by subject groups were different at the statistical significance of .05.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/428
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น