กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4275
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตในท้องถิ่นภาคตะวันออก : กรณีศึกษาเพลงรำสวด คณะอเนก สารเนตร จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The culture of music and indigenous living in eastern region: A case study of Rum Suad, Anek Sarnnetra troupe, Trat province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รณชัย รัตนเศรษฐ
คำสำคัญ: เพลงพื้นเมือง -- ไทย -- ตราด
ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย -- ตราด
ความเป็นอยู่และประเพณี
ตราด -- ความเป็นอยู่และประเพณี
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านดนตรีวิทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมดนตรีกับ วิถีชีวิตชุมชนในท้องถิ่นภาคตะวันออก : กรณีศึกษาเพลงรำสวด คณะอเนก สารเนตร จังหวัดตราด ผลการศึกษาพบว่า ในด้านประวัติความเป็นมาของการเล่นเพลงรำสวด คณะอเนก สารเนตร จังหวัดตราด นายอเนก สารเนตร ได้เริ่มหัดเล่นเพลงรำสวดอย่างประมาณปี พ.ศ. 2503 โดยเริ่มจากการเล่นเพลงรำสวดแบบดั้งเดิม คือ การใช้เนื้อหาจากบทสวดพระมาลัย ต่อมาจึงประยุกต์นำเนื้อเรื่องจากนิทานในวรรณคดีมาเป็นบทร้อง เรียกว่าการเล่นรำสวดแบบประยุกต์ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ ได้แก่ กลอง (ทำหน้าที่บรรเลงหลัก) ฉิ่ง และกรับ โดยผู้ที่บรรเลงดนตรีจะทำหน้าที่ร้องรับเป็นลูกคู่ประกอบการร้องไปด้วยในขณะแสดงรูปแบบอัตลักษณ์ในการแสดงจะเริ่มจากร้องบทไหว้พระพุทธ พระธรรมจบแล้วนั้น ก็จะย้อนกลับไปร้องสร้อยและร้องบทไหว้ครู ไหว้บิดร มารดา และจบด้วยบทสั่งเปรต หลังจากนั้นก็จะเป็นการร้องดำเนินเรื่อง โดยใช้เรื่องในวรรณคดีเป็นหลัก ลักษณะสำคัญของการแสดงรำสวดคณะอเนก สารเนตร เป็นการเล่นรำสวดแบบประยุกต์ที่จะนำนิทานในวรรณคดีมาเล่นเป็นเรื่องราว ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานศพ ได้รับความเพลิดเพลินมากขึ้นถือเป็นแบบฉบับของคณะ มิได้มีการร้องเพลงลูกทุ่งหรือเพลงสมัยนิยม ทำให้ยังคงเอกลักษณ์หรือลักษณะเพลงพื้นบ้าน ที่เป็นคุณค่าของงานวัฒนธรรมเพลงดนตรีที่สำคัญ ที่ควรบันทึกและอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4275
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
mupa6n1p17-28.pdf793.79 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น