กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4250
ชื่อเรื่อง: โรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ในด้านระบบทางเดินอาหารและตับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Coronavirus disease 2019 (COVID-19) and gastrointestinal system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนีพร ชื่นสุวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: โควิด-19 (โรค)
การติดเชื้อไวรัสโคโรนา
อาการ (โรค)
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บทนำ ปัจจุบันโรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) กำลังระบาดอย่างกว้างขวาง โดยในกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 2,000,000 คน และเสียชีวิตมากกว่า 130,000 ราย มากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โดยโรค COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัส Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARSCoV-2) พบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 และหลังจากนั้นได้มีการระบาดไปเกือบทั่วโลก โดยอัตราทุพพลภาพ และการเสียชีวิตพบในมากกว่ากลุ่มการติดเชื้อโคโรนาไวรัสที่ระบาดก่อนหน้านี้คือ โรค SARS (8,098 คน ติดเชื้อ 774 คน เสียชีวิต) และ MERS (2,458 คน ติดเชื้อ 848 คนเสียชีวิต1 จากข้อมูลแรกจากประเทศจีนในผู้ป่วย 72,314 ราย พบว่า ร้อยละ 81 จะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง ร้อยละ 14 จะมีอาการรุนแรง เช่น มีอาการเหนื่อย และ ภาวะปอกอักเสบ ร้อยละ 5 จะมีอาการรุนแรงมากจนถึงมีภาวะอวัยวะล้มเหลวได้ ส่วนอัตราการตายปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 2-3 2 การศึกษาเดียวกันยังพบว่านอกเหนือจากอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจแล้ว ผู้ป่วย COVID-19 ยังมีอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารและตับเช่นเดียวกัน ดังนั้นโรคจึงสามารถติดต่อทางการสัมผัสอุจจาระเช่นกัน วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการติดเชื้อ COVID-19 ในด้านต่าง ๆ ได้แก่อาการแสดงในระบบทางเดินอาหารและตับ fecal oral transmission และการป้องกันการติดเชื้อในห้องส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร วิธีการ ทบทวนวรรณกรรมที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล PubMed, Ovid, medRxiv จนถึง 20 เมษายน 2020 สรุป SARS-CoV-2 เป็นภัยคุกคามร้ายแรงของมนุษย์โลก โดยในช่วงแรก ๆ ของการระบาดอาการหลักที่นำมาสู่การคัดกรองคืออาการทางเดินหายใจ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อมูลมากขึ้นอาการทางด้านทางเดินอาหารก็พบได้มีรายงานการตรวจพบอนุภาคของไวรัสในอุจจาระแม้ว่าผลจาการตรวจในทางเดินหายใจจะเป็นลบแล้ว ดังนั้นการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดผ่านทาง fecal oral transmission มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และนำมาซึ่งการพัฒนาการรักษาใหม่ ๆ ที่มุ่งเน้นที่ระบบทางเดินอาหารในอนาคตอีกด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4250
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med7n1p113-126.pdf386.24 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น