กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/422
ชื่อเรื่อง: สภาพและปัญหาการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี อนันต์นาวี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาขั้นพื้นฐาน - - การบริหาร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน - - ไทย - - วิจัย
โรงเรียน - - การบริหาร - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีความมั่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาและสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการที่ดี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 351 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษากรณีศึกษาและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใช้ข้อมูลหลัก ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ครู จำนวน 6 คนในสถานศึกษา กรณีศึกษา 6 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารจัดการที่ดี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .984 และ .981 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช้ค่าที (t-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ปัญหาการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย 2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกจำแนกตามประเภทสถานศึกษาและขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก สังเคราะห์จากการศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีได้ 8 ประการ เพื่อการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดการบริหารจัดการที่ดีเป็นค่านิยมหลักกำหนดมาตรฐานและวิธีการปฏบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/422
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น