กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4205
ชื่อเรื่อง: การศึกษากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของเศษขยะขวดน้ำพลาสติกและกระบวนการสร้างพื้นผิวโดยผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และ ทุ่นโฟม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of recycle process of plastic bottle and texturing process by integration with debris netting, rope, nets and foam buoy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศุภรา อรุณศรีมรกต
ปิติวรรธน์ สมไทย
ภรดี พันธุภากร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การนำกลับมาใช้ใหม่
ขยะพลาสติก -- การนำกลับมาใช้ใหม่
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของเศษขยะขวดน้ำพลาสติกและกระบวนการสร้างพื้นผิวโดยผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟม วิธีการวิจัย คือ แยกชนิดขวดน้ำพลาสติก PET และ HDPE ด้วยวิธีการทำมือ และย่อยขนาดขวดน้ำพลาสติกให้เล็กด้วยวิธีการตัด ผลิตชิ้นพลาสติกในอัตราส่วน ร้อยละ 100 ด้วยวิธีการหลอมด้วยความร้อนในเตาอบ เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเกิดการละลายและยุบตัวจึงจำเป็นต้องเติมปริมาณเศษพลาสติกที่ตัดเป็นชิ้นเล็กให้เต็มแม่แบบจนได้ขนาดตามแม่แบบ การผลิตชิ้นพลาสติกผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟมในอัตราส่วนการผสมเศษขวดน้ำพลาสติก ร้อยละ 90 และ เศษวัสดุอื่น ๆ ร้อยละ 10 ผลการศึกษากระบวนการสร้างพื้นผิวของเศษขยะขวดน้ำพลาสติกและการผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟม พบว่า จุดหลอมเหลวพลาสติก HDPE ที่ 230 องศาเซลเซียส จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนโดยเผาไหม้และเปลี่ยนเป็นสีดำ ส่วนพลาสติกชนิด PET ที่ 293 องศาเซลเซียส จะเกิดการละลายกลายเป็นน้ำ ส่วนเศษวัสดุแห เชือก อวน ที่นำมาผสมมีลักษณะละลายเข้ากับเนื้อพลาสติกขวดน้ำด้วยความร้อนได้ดี แต่เกิดการเผาไหม้เร็วกว่าพลาสติกโดยเฉลี่ยใช้ระยะเวลา 10 นาที จะเกิดการเผาไหม้เปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม และแข็งตัวคงรูป ซึ่งมีผลต่อลักษณะพื้นผิวของพลาสติกทำให้ไม่เรียบ ขรุขระ ลักษณะพื้นผิวที่ได้จากการหลอมของเศษวัสดุแห และอวน มีความใกล้เคียงกันสูง แตกต่างเพียงขนาดของเส้นแห และอวน เศษวัสดุเชือกเมื่อถูกการหลอมละลายมีการหดตัวสูงมากเมื่อเทียบกับการหดตัวของเศษวัสดุแห และอวน ลักษณะพื้นผิวที่ได้จะไม่เรียบ มีความขรุขระสูงกว่าเศษวัสดุแห และอวน เศษวัสดุทุ่นโฟมไม่สามารถยึดติดกับพลาสติก ลักษณะพื้นผิวที่ได้จึงเป็นเพียงแค่ร่องรอยของทุ่นโฟมบนพลาสติก การศึกษากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ของเศษขยะขวดนำพลาสติกและกระบวนการสร้างพื้นผิวโดยผสมผสานกับเศษวัสดุแห เชือก อวน และทุ่นโฟม มีลักษณะพื้นผิววัสดุที่ใกล้เคียงกัน โดยเศษวัสดุแหและอวนให้พื้นผิวที่เรียบและการผสมผสานได้ดีที่สุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4205
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
art22n2p90-103.pdf2.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น