กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4173
ชื่อเรื่อง: เทวันคำกาพย์: นิทานพื้นบ้านไทยที่เปลี่ยนรายละเอียดเนื้อเรื่องมาจากชาดก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thewan Kham Kap: A Thai Folktale with the changing details from Jataka
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐา ค้ำชู
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: นิทานพื้นเมือง
วรรณกรรม -- การดัดแปลง
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เทวันคำกาพย์เป็นนิทานพื้นบ้านไทยประเภทลายลักษณ์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาในยุคที่สังคมไทยนิยมการสวดอ่าน และฟังนิทานหรือกลอนสวดในที่ประชุมชนหรือในครัวเรือนราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันต้นฉบับเทวันคำกาพย์ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่ฝ่ายเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร กวีสร้างสรรค์เทวันคำกาพย์มาจากเทวันธชาดก ซึ่งเป็นนิทานในปัญญาสชาดก โดยได้เปลี่ยนรายละเอียดของตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่อง ได้แก่ เปลี่ยนรายละเอียด ชื่อ ลักษณะ พฤติกรรมของตัวละคร เปลี่ยนรายละเอียดเหตุการณ์ในเรื่องด้วยการนำอนุภาคและเหตุการณ์จากวรรณกรรมหรือนิทานเรื่องอื่นที่รู้จักกันดีที่มีมาก่อนมาดัดแปลงผสมผสาน ทำให้เทวันคำกาพย์มีความแตกต่างไปจากตัวบทนิทานต้นเรื่อง ซึ่งก่อให้เกิดความตลกขบขัน นอกจากนี้กวียังเปลี่ยนรายละเอียดของหลักธรรมคำสอนที่ปรากฏในเนื้อเรื่องให้ง่ายต่อความเข้าใจและการจดจำของผู้อ่านผู้ฟังซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นชาวบ้านชาววัด เทวันคำกาพย์เป็นนิทานพื้นบ้านไทยอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ มีคุณค่า สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญา ความรอบรู้และความสามารถของกวีในการปรับเปลี่ยนนิทานศาสนาให้มาเป็นนิทานพื้นบ้าน จึงควรอนุรักษ์และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4173
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
huso28n2p108-135.pdf612.12 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น