กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4153
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศิริประพาพรรณ ทุมคำ
dc.contributor.authorชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
dc.contributor.authorพรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2021-06-15T03:57:01Z
dc.date.available2021-06-15T03:57:01Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4153
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการจมน้ำของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 4 จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 4 จำนวน 245 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำ ความสามารถในการตัดสินใจเพื่อป้องกันการจมน้ำ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการจมน้ำ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การสนับสนุนจากครอบครัวเพื่อป้องกันการจมน้ำ การป้องกันการจมน้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการป้องกันการจมน้ำในระดับปานกลาง (M = 22.27, SD = 3.88) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการจมน้ำของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความสามารถในการตัดสินใจเพื่อป้องกันการจมน้ำ (r = .898, p < .001) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (r = .178, p < .01) การรับรู้ความเสี่ยงต่อการจมน้ำ (r = .174, p < .01) การสนับสนุนจากครอบครัวเพื่อป้องกันการจมน้ำ (r = .162, p < .05) ส่วนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำ และเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการจมน้ำในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลหรือบุคลากรทางสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรม/โปรแกรมเพื่อการป้องกันการจมน้ำในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยเน้นเสริมสร้างศักยภาพการตัดสินใจ การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การรับรู้ความเสี่ยง และการสนับสนุนจากครอบครัวเพื่อการป้องกันการจมน้ำth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการจมน้ำ -- การป้องกันth_TH
dc.subjectการจมน้ำth_TH
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษาth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการจมน้ำของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จังหวัดนครราชสีมาth_TH
dc.title.alternativeFactors related to drowning prevention among primary school students in Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area Office 4, Nakhon Ratchasima Provinceen
dc.typeArticleth_TH
dc.issue4th_TH
dc.volume28th_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to identify factors related to drowning prevention among primary school students in Nakhonratchasima primary education service area office 4, Nakhonratchasima province. Multistage random sampling was used to recruit the sample of 245 primary school students in Nakhonratchasima primary education service area office 4, Nakhonratchasima province. Research instruments included questionnaires to gather data on demographic information, knowledge, decision-making ability, perceived susceptibility, physical environment, family support to prevent drowning, and drowning prevention. Descriptive statistics, point biserial correlation coefficients and Pearson’s product moment correlation coefficients were used to analyze the data. The results revealed that the sample had moderate level mean score for drowning prevention (M = 22.27, SD = 3.88). Drowning prevention was significantly correlated with ability to make decisions to prevent drowning (r = .898, p < .001), physical environment (r = .178, p < .01), perceived susceptibility (r = .174, p < .01), and family support to prevent drowning (r = .162, p < .05). Prevention drowning knowledge and sex were not significantly correlated with drowning prevention. The findings suggest that nurses and other healthcare providers who are responsible for primary school students could apply these study results to develop activities/ programs to prevent drowning by focusing on enhancing primary school students’ ability to make decisions, the physical environment, perceived susceptibility, and family support to prevent drowningen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.page12-24.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus28n4p12-24.pdf221.13 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น