กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/414
ชื่อเรื่อง: การสำรวจทางชีวภาพในสัตว์น้ำเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรีและการจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นต่อสาร PAHs ในหอยแมลงภู่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Biomonitoring of coastal bioresources in Chonburi povince and preliminary risk management ot PAHs in green mussel
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาศิริ บาร์เนท
พิชาญ สว่างวงศ์
ไพฑูรย์ มกกงไผ่
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สัตว์ชายเลน - - ไทย - - ชลบุรี
สัตว์ทะเล - - แง่เศรษฐกิจ
สัตว์ทะเล - - ไทย - - ชลบุรี
หอยแมลงภู่ - - การปนเปื้อนของสารพิษ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผลงานวิจัยได้สำรวจปลาทะเลธรรมชาติตามชายฝั่งจังหวัดชลบุรี มีจำนวน 30 ชนิด ปลาทะเลบางชนิดเหล่านี้และหอยแมลงภู่จากแพเลี้ยงหอยพบว่าได้สัมผัสสาร PAHs เมื่อตรวจวัดโดยใช้ตัวชี้วัดชีวภาพ (biomarker) CYP1A ที่ใช้ในโมโนโคลนอลแอนติบอดี anti CYP1A ของปลากะพงขาว ด้วยเทคนิค Western blot เปอร์เซ็นต์การพบการแสดงออกของ CYP1A จากตับปลาทะเลมีดังนี้ ในช่วงฤดูแล้ง 2552 จากแหล่งสำรวจ อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา มีปริมาณ CYP1A 50% (6 จาก 12 ตัวอย่าง) 63.63% (7 จาก 11 ตัวอย่าง) และ 64.28% (9 จาก 14 ตัวอย่าง) ตามลำดับ ในช่วงฤดูฝนจากแหล่งสำรวจ อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา มีปริมาณ CYP1A 25% (2 จาก 8 ตัวอย่าง) 36% (5 จาก 14 ตัวอย่าง) และ 0% (0 จาก 7 ตัวอย่าง) ตามลำดับ และการตรวจในเชิงปริมาณของ CYP1A โดยเทคนิค ELISA ก็ให้ผลสอดคล้องทั้งสองฤดูกาล จากผลข้อมูลชี้ให้เห็นมลภาวะทางทะเลเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนน้อยกว่าฤดูแล้ง ทั้งนี้เนื่องจากสารมลพิษต่างๆที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลตามชายฝั่งจะเจือจางลง และถูกพัดออกนอกชายฝั่งด้วยน้ำฝน สำหรับการแสดงออกของ CYP1A (ใช้โพลีโคลนอลแอนติบอดี anti CYP1A ของปลา Rainbow trout) ในหอยแมลงภู่พบ CYP1A ได้ในทุกตัวอย่าง (n=8) ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ของทั้ง 3 สถานี จากผลข้อมูลชี้ให้เห็นหอยแมลงภู่เป็นสัตว์น้ำไม่เคลื่อนที่ จะสัมผัสสารพิษได้ตลอดเวลา ผลกระทบทางสุขภาพของปลาทะเลและหอยแมลงภู่จากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบกลุ่ม Vibrio พบชนิด Vibrio alginolyticus เป็นส่วนใหญ่จากไตปลาทะเล ในฤดูแล้ง จาก อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา ปริมาณ 30.9% (25 จาก 81 ตัวอย่าง), 40.4% (21 จาก 52 ตัวอย่าง), 21.9% (21 จาก 96 ตัวอย่าง) ตามลำดับ ในฤดูฝน จาก อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา ปริมาณ 33.3% (20 จาก 60 ตัวอย่าง), 8.2% (4 จาก 49 ตัวอย่าง), 28.3% (17 จาก 60 ตัวอย่าง) ตามลำดับ และสอดคล้องกับการพบแบคทีเรียแกรมลบชนิด Vibrio alginolyticus ในหอยแมลงภู่เป็นส่วนใหญ่ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน ปริมาณ 50% ทั้ง3 สถานี ยกเว้นในฤดูฝนพบปริมาณน้อยกว่ามากที่อ่างศิลา นอกจากนี้ยังพบชนิด V. parahaemolyticus และ V. harveyi เพียงเล็กน้อย ทั้งปลาทะเลและหอยแมลงภู่ รวมทั้งพบพาราไซท์ทั้งภายนอกและภายในทางเดินอาหารในปลาทะเล การพบแบคทีเรียและพาราไซท์ในปลาทะเล และแบคทีเรียในหอยแมลงภู่ เป็นข้อมูลที่ชี้ถึงการยอมรับเชื้อของเจ้าบ้านเมื่ออ่อนแอ อาจมีผลมาจากสารพิษในบริเวณแหล่งอาศัยตามชายฝั่ง ระยะเวลาและปริมาณสาร PAHs ที่ตกค้างเหลือในหอยแมลงภู่ได้ถูกทดลอง โดยให้หอยแมลงภู่สัมผัสสาร PAHs (20 ppb) เปรียบเทียบกับ น้ำมันดิบ Crude oil (0.5 ppm) โดยมีตัวชี้วัดชีวภาพ CYP1A เป็นตัวบ่งชี้การสัมผัส ผลการทดลองพบว่า ชุดทดลองให้หอยแมลงภู่สัมผัสสาร PAHs หลัง 1 วัน และ 5 วัน ปริมาณสาร PAHs ยังมีค่าสูงมาก แม้หลังวันที่ 10 ปริมาณจะลดลง 10 เท่าตัว แต่ค่าก็ยังสูงกว่าชุดหอยแมลงภู่สัมผัสกับ Crude oil ตัวชี้วัดชีวภาพ CYP1A ในหอยแมลงภู่ก็ยืนยันการสัมผัสสารทั้ง PAHs และ Crude oil ข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้บริโภคทรัพยากรสิ่งมีชีวิตจำพวกหอยอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลที่มีปัญหาน้ำมันรั่วไหล บ่งชี้สามารถรับประทานหอยได้หลังจาก 10 วัน ผลทดลองจัดเป็นการจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นทางสิ่งแวดล้อมของทรัพยากรทางทะเล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/414
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น