กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/414
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปภาศิริ บาร์เนทth
dc.contributor.authorพิชาญ สว่างวงศ์th
dc.contributor.authorไพฑูรย์ มกกงไผ่th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:48Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:48Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/414
dc.description.abstractผลงานวิจัยได้สำรวจปลาทะเลธรรมชาติตามชายฝั่งจังหวัดชลบุรี มีจำนวน 30 ชนิด ปลาทะเลบางชนิดเหล่านี้และหอยแมลงภู่จากแพเลี้ยงหอยพบว่าได้สัมผัสสาร PAHs เมื่อตรวจวัดโดยใช้ตัวชี้วัดชีวภาพ (biomarker) CYP1A ที่ใช้ในโมโนโคลนอลแอนติบอดี anti CYP1A ของปลากะพงขาว ด้วยเทคนิค Western blot เปอร์เซ็นต์การพบการแสดงออกของ CYP1A จากตับปลาทะเลมีดังนี้ ในช่วงฤดูแล้ง 2552 จากแหล่งสำรวจ อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา มีปริมาณ CYP1A 50% (6 จาก 12 ตัวอย่าง) 63.63% (7 จาก 11 ตัวอย่าง) และ 64.28% (9 จาก 14 ตัวอย่าง) ตามลำดับ ในช่วงฤดูฝนจากแหล่งสำรวจ อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา มีปริมาณ CYP1A 25% (2 จาก 8 ตัวอย่าง) 36% (5 จาก 14 ตัวอย่าง) และ 0% (0 จาก 7 ตัวอย่าง) ตามลำดับ และการตรวจในเชิงปริมาณของ CYP1A โดยเทคนิค ELISA ก็ให้ผลสอดคล้องทั้งสองฤดูกาล จากผลข้อมูลชี้ให้เห็นมลภาวะทางทะเลเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนน้อยกว่าฤดูแล้ง ทั้งนี้เนื่องจากสารมลพิษต่างๆที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลตามชายฝั่งจะเจือจางลง และถูกพัดออกนอกชายฝั่งด้วยน้ำฝน สำหรับการแสดงออกของ CYP1A (ใช้โพลีโคลนอลแอนติบอดี anti CYP1A ของปลา Rainbow trout) ในหอยแมลงภู่พบ CYP1A ได้ในทุกตัวอย่าง (n=8) ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ของทั้ง 3 สถานี จากผลข้อมูลชี้ให้เห็นหอยแมลงภู่เป็นสัตว์น้ำไม่เคลื่อนที่ จะสัมผัสสารพิษได้ตลอดเวลา ผลกระทบทางสุขภาพของปลาทะเลและหอยแมลงภู่จากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบกลุ่ม Vibrio พบชนิด Vibrio alginolyticus เป็นส่วนใหญ่จากไตปลาทะเล ในฤดูแล้ง จาก อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา ปริมาณ 30.9% (25 จาก 81 ตัวอย่าง), 40.4% (21 จาก 52 ตัวอย่าง), 21.9% (21 จาก 96 ตัวอย่าง) ตามลำดับ ในฤดูฝน จาก อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวดา ปริมาณ 33.3% (20 จาก 60 ตัวอย่าง), 8.2% (4 จาก 49 ตัวอย่าง), 28.3% (17 จาก 60 ตัวอย่าง) ตามลำดับ และสอดคล้องกับการพบแบคทีเรียแกรมลบชนิด Vibrio alginolyticus ในหอยแมลงภู่เป็นส่วนใหญ่ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน ปริมาณ 50% ทั้ง3 สถานี ยกเว้นในฤดูฝนพบปริมาณน้อยกว่ามากที่อ่างศิลา นอกจากนี้ยังพบชนิด V. parahaemolyticus และ V. harveyi เพียงเล็กน้อย ทั้งปลาทะเลและหอยแมลงภู่ รวมทั้งพบพาราไซท์ทั้งภายนอกและภายในทางเดินอาหารในปลาทะเล การพบแบคทีเรียและพาราไซท์ในปลาทะเล และแบคทีเรียในหอยแมลงภู่ เป็นข้อมูลที่ชี้ถึงการยอมรับเชื้อของเจ้าบ้านเมื่ออ่อนแอ อาจมีผลมาจากสารพิษในบริเวณแหล่งอาศัยตามชายฝั่ง ระยะเวลาและปริมาณสาร PAHs ที่ตกค้างเหลือในหอยแมลงภู่ได้ถูกทดลอง โดยให้หอยแมลงภู่สัมผัสสาร PAHs (20 ppb) เปรียบเทียบกับ น้ำมันดิบ Crude oil (0.5 ppm) โดยมีตัวชี้วัดชีวภาพ CYP1A เป็นตัวบ่งชี้การสัมผัส ผลการทดลองพบว่า ชุดทดลองให้หอยแมลงภู่สัมผัสสาร PAHs หลัง 1 วัน และ 5 วัน ปริมาณสาร PAHs ยังมีค่าสูงมาก แม้หลังวันที่ 10 ปริมาณจะลดลง 10 เท่าตัว แต่ค่าก็ยังสูงกว่าชุดหอยแมลงภู่สัมผัสกับ Crude oil ตัวชี้วัดชีวภาพ CYP1A ในหอยแมลงภู่ก็ยืนยันการสัมผัสสารทั้ง PAHs และ Crude oil ข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้บริโภคทรัพยากรสิ่งมีชีวิตจำพวกหอยอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลที่มีปัญหาน้ำมันรั่วไหล บ่งชี้สามารถรับประทานหอยได้หลังจาก 10 วัน ผลทดลองจัดเป็นการจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นทางสิ่งแวดล้อมของทรัพยากรทางทะเลth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับงบประมาณประจำปี 2552 เสนอต่อ สภาวิจัยแห่งชาติen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสัตว์ชายเลน - - ไทย - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสัตว์ทะเล - - แง่เศรษฐกิจth_TH
dc.subjectสัตว์ทะเล - - ไทย - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectหอยแมลงภู่ - - การปนเปื้อนของสารพิษth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการสำรวจทางชีวภาพในสัตว์น้ำเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรีและการจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นต่อสาร PAHs ในหอยแมลงภู่th_TH
dc.title.alternativeBiomonitoring of coastal bioresources in Chonburi povince and preliminary risk management ot PAHs in green musselen
dc.typeResearch
dc.year2552
dc.description.abstractalternativeFrom a survey of 30 species of fishes, as well as, green mussels from Chonburi waters it was found that utilizing CYP1A as a biomarker, they had been exposed to PAHs. The marker was identified from the sea bass Lates calcarifer utilizing a Western Blot. The percentage of CYP1A positive tests from fish liver are as follows: Dry season 2009 from Ang Sila, Sriracha, and Tao Theva cape there was a 50% (6 of 12 samples), 63.63% (7 of 11 samples) and 64.28% (9 of 14 samples) frequency. During the monsoon season at the corresponding sites we indentified detection frequencies of 25% (2 of 8 samples), 36% (5 of 14 samples) and 0% (0 of 7 samples), respectively. Quantitative tests utilizing ELISA confirmed the frequency of positive tests. Our results show that the exposure to PAHs was lower in frequency during the monsoon season, possibly due to dilution of the contaminants. Expression of the CYP1A gene, utilizing the polyclonal antibody antiCYP1A from Rainbow trout, was found in all green mussels samples (n=8) for both dry and wet season demonstrating the applicability of green mussels as a sentinel organism. As for health implications towards marine fishes and green mussels isolated with Vibrio spp. The Pathogen V. alginolyticus was identified from many marine fishes species of liver samples with frequencies as follows: Dry season 2009 from Ang Sila, Sriracha, and Tao Theva cape there was a 30.9% (25 of 81 samples), 40.4% (21 of 52 samples) and 21.9% (21 of 96 samples), respectively. Corresponding values for the monsoon season were 33.3% (20 of 60 samples), 8.2% (4 of 49 samples) and 28.3% (17 of 60 samples), respectively. These values correspond with the identification of the gram native pathogen V. alginolyticus in green mussels for 50% of all three sampling stations with the lowest numbers recorded at Ang Sila. Additionally, V. parahaemolyticus and V. harrveyi were also identified in low frequency in both fish and mussel samples. Internal external parasites, as well as, bacterial infection in green mussels suggest susceptibility of the host when weakened by pollutant exposure. Residence time of PAHs was also investigated in green mussels by exposing the experimental bivalves to PAHs (20 ppb) compared with crude oil (0.5 ppm) with CYP1A as an indicator biomarker. Results from this part of the study show that green mussels retained a high concentration of pollutant after 1 and 5 days. After 10 days, pollutant concentration had decreased 10 fold although values were consistently higher that mussels exposed to crude oil. The utilization of CYP1A as a biomarker confirms the exposure to PAHs and crude oil. These findings may help in the assessment of consumer health risks when confronted with oil spills or leakages. We suggest that green mussels may be consumed after at least 10 days post exposureen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น