กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4130
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to self-determination to select dialysis modalities in patients with end-stage renal diseases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี สังข์สี
ยุพิน ถนัดวณิชย์
วัลภา คุณทรงเกียรติ
สายฝน ม่วงคุ้ม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ไตวายเรื้อรัง
ไต -- โรค -- การรักษา
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
การล้างไตทางช่องท้อง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองได้ ทำให้มีความไม่ต่อเนื่องในการรักษา การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากอายุรแพทย์โรคไตว่าเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายและจำเป็นต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต จำนวน 82 ราย คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความหวังต่อการบำบัดทดแทนไต แบบประเมินความชอบต่อวิธีบำบัดทดแทนไต แบบประเมินความสามารถในการเข้ารับบริการบำบัดทดแทนไต แบบประเมินทัศนคติของผู้ป่วยต่อการบำบัดทดแทนไต และแบบประเมินการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตอยู่ระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 40.59, SD = 2.02) และพบว่า ความหวังต่อการบำบัดทดแทนไต ความชอบต่อวิธีบำบัดทดแทนไตและความสามารถในการเข้ารับบริการบำบัดทดแทนไตมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .32, r = .29, r = .34, p < .01) ส่วนทัศนคติของผู้ป่วยต่อการบำบัดทดแทนไตไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต (r = -.01, p > .05) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตด้วยตนเอง พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรด้านสุขภาพควรมีการสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและวิธีบำบัดทดแทนไตเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี และมีความชอบต่อวิธีบำบัดทดแทนไตที่ตนเองเลือก และสุดท้าย ต้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความหวังในการดำเนินชีวิตแม้ว่าต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4130
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus28n3p53-65.pdf224.06 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น