กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4116
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sexual risk behavior of primary school students in industrial area, Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิวานิตย์ ทองคำดี
ฉวีวรรณ บุญสุยา
เสาวนีย์ ทองนพคุณ
สาวิตรี วิษณุโยธิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 713 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มสองขั้นตอนของโรงเรียนทั้ง 14 แห่ง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมเสี่ยงทาง เพศ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่านักเรียนมากกว่าครึ่งหนึ่งมีบิดา/ มารดาประกอบอาชีพรับจ้าง/ พนักงานบริษัท/ โรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 75.3 และ 55.0 ตามลำดับ นักเรียนร้อยละ 59.9 ยอมรับว่าเคยมีแฟน ในขณะที่ นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในระดับต่ำ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมของนักเรียน พบว่า 1) ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ (p<0.001) ระดับการศึกษา (p<0.001) สัมพันธภาพระหว่างบิดามารดา (p<0.05) การปรึกษาบุคคลในครอบครัว (p<0.001) 2) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การไปร้านเกมส์ ร้านคาราโอเกะ หรือที่ลับตาคนหลังเลิกเรียน (p<0.001) การนัดพบแฟนหรือเพื่อนต่างเพศตามลำพังในที่ลับตา (p<0.001) 3) ปัจจัยเสริม ได้แก่ การดู/ เห็นภาพโป๊ (p<0.001) การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (p<0.05) ประสบการณ์การมีแฟนหรือคนรักของนักเรียน (p<0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) รัฐบาลควรส่งเสริมนโยบายการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อสร้างโปรแกรมลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้งนี้ผู้ปกครอง ชุมชน สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้บริหารสถานศึกษาควรร่วมมือกันวางแผน จัดการสหปัจจัยเสี่ยง และประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศต่อนักเรียน การส่งเสริมผู้ปกครองให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเข้มงวดกับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพฤติกรรมเสี่ยง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4116
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
85-98.pdf165.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น