กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/408
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวรเทพ มุธุวรรณth
dc.contributor.authorเสาวภา สวัสดิ์พีระth
dc.contributor.authorจารุนันท์ ประทุมยศth
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ เหลืองอ่อนth
dc.contributor.authorวิรชา เจริญดีth
dc.contributor.authorธรรมศักดิ์ ถาพรพันธุ์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:34Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:34Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/408
dc.description.abstractแผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสวย (กุ้งการ์ตูน, Hymenocera picta) เพื่ออนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นแผนงานวิจัยที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ แผนงานวิจัยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับประมงและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง มีวัตถุประสงค์หลักของแผนงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะลี้ยงกุ้งการ์ตูนสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ มีระยะเวลาการวิจัย 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาน พ.ศ. 2553 -2555 ปีที่รายงานเป็นปีที่ 2 ของแผนงานวิจัย แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย โครงการวิจัย 9โครงการ ภายใต้ 5 แผนงานย่อย สำหรับปีงบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,160,800 บาท (สองล้านหนึ่งแสนหกหมื่นแปดร้อยบาท) ผลการดำเนินงานพบว่าบรรลุเป้าหมายของแผนงานวิจัย 2 ตัวชี้วัด จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่หนึ่ง ได้อัตราการกินอาหาร กสารเจริญเติบโตของกุ้งการ์ตูน และได้ผลการวิจัยระยะที่ 1 ในการเลี้ยงขยาพันธ์ดาวทะเล หรือดาวทะเลชนิดอ่านสำหรับใช้เป็นอาหารทดแทนในการเลี้ยงกุ้งการ์ตูนให้ได้ขนาดตลาดต่อไป ผลความสำเร็จในประเด็นนี้ ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าสามารถที่จะใช้ดาวทรายเป็นอาหารทดแทนดาวแดงได้ ส่วนการขยขายพันธ์ดาวทะเลยังอยู่ในระหว่างการวิจัยในโครงการต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ตัวชี้วัดที่สอง ได้ข้อมูลการตลาดที่สมบูรณ์พร้อมนำมาใช้ในการประเมินในการทำฟาร์มต่อไป ผลการวิจัยได้ข้อมูลการตลาดจากการสำรวจสมบูรณ์แล้ว สามารถแสดงให้เห็นถึงชนิดของ กุ้ง กั้ง ปู ที่ตลาดมีความต้องการสูง รวมทั้งราคาจำหน่าย แต่ข้อมูลจากการนำเข้ายังไม่สมบูรณ์เพราะยังต้องรอให้ด่านตรวจสัตว์น้ำ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป ตัวชี้วัดที่สาม การอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนจนสามารถผ่านระยะเวลาวัยออ่อนได้ ด้วยการเสริมโภชนาการในอาหารวัยอ่อน และระบบอนุบาลต้นแบบที่จะนำไปขยายขนาดในการผลิตเชิงพาณิชย์ในปีที่ 3 พบว่า ถึงจะทำการวิจัยเสร็จสิ้นตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ทุกประการ แต่ผลการวิจัยยังไม่สามารถอนุบาลลูกกุ้งให้ผ่านระยะวัยอ่อนได้ จึงต้องมีการทดลองซ้ำต่อไป ซึ่งเป้าหมายของตัวชี้วัดจพสามารถบรรลุเป้าหมายได้ในแผนงานวิจัยที่จะต้องดำเนินการวิจัยต่อไปในปีงบประมาณ 2555th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกุ้งการ์ตูน - - การเลี้ยงth_TH
dc.subjectกุ้งทะเล - - การอนุรักษ์th_TH
dc.subjectกุ้งทะเล - - การเลี้ยงth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลสวยงาม (กุ้งการ์ตูน, Hymenocera picta) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2555
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น