กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4075
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorดวงกมล อุ่นจิตติ
dc.contributor.authorสมฤทัย ธีรเรืองสิริ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2021-05-18T06:43:34Z
dc.date.available2021-05-18T06:43:34Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4075
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศและพฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตระดับ ปริญญาตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี จำแนกตามเพศ ชั้นปี และสาขาวิชา 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี จำแนกตามเพศ ชั้นปี และสาขาวิชา 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสารสนเทศและพฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของนิสิตแต่ละชั้นปี จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติประมวลผลข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ F-test วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient: r) ระหว่างตัวแปร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมสารสนเทศและพฤติกรรมนวัตกรรม ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (􀝔̅ = 3.58 และ 􀝔̅ = 3.57) 2) นิสิตระดับปริญญาตรีที่มีเพศต่างกันมีพฤติกรรมสารสนเทศไม่แตกต่างกัน 3) นิสิตระดับปริญญาตรีที่มีชั้นปีต่างกันมีพฤติกรรมสารสนเทศด้านการแสวงหาสารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตชั้นปีที่ 1 และนิสิตชั้นปีที่ 4 มีพฤติกรรมสารสนเทศด้านการแสวงหาสารสนเทศมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 2 4) นิสิตระดับปริญญาตรีที่มีสาขาวิชาต่างกันมีพฤติกรรมสารสนเทศด้านความต้องการสารสนเทศและด้านการแสวงหาสารสนเทศแตกต่างกัน โดยนิสิตสาขาวิชากลุ่มสังคมศาสตร์มีพฤติกรรมสารสนเทศด้านความต้องการสารสนเทศมากกว่านิสิตสาขาวิชากลุ่มมนุษยศาสตร์ และนิสิตสาขาวิชากลุ่มภาษามีพฤติกรรมสารสนเทศด้านการแสวงหาสารสนเทศมากกว่านิสิตสาขาวิชากลุ่มมนุษยศาสตร์ 5) นิสิตระดับปริญญาตรีที่มีเพศต่างกันและชั้นปีที่ต่างกันมีพฤติกรรมนวัตกรรมทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 6) นิสิตระดับปริญญาตรีที่มีสาขาวิชาต่างกันมีพฤติกรรมนวัตกรรมด้านการเป็นผู้นำความคิดแตกต่างกัน โดยนิสิตสาขาวิชากลุ่มสังคมศาสตร์มีพฤติกรรมนวัตกรรมด้านการเป็นผู้นำความคิดมากกว่านิสิตสาขาวิชากลุ่มมนุษยศาสตร์ 7) พฤติกรรมสารสนเทศกับพฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งโดยรวม (r = .698) และรายด้านth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพฤติกรรมนวัตกรรมth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสารสนเทศth_TH
dc.subjectสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์th_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสารสนเทศกับพฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeThe Relationship Between Information Behavior and Innovation Behavior of Undergraduate Student, Faculty of Humanities and Social Science, Burapha Universityen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emaildoungka@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsomruthaik@hotmail.comth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThis descriptive research aims to 1) investigating information behavior and innovation behavior of undergraduate students 2) comparing those of information behavior according to gender, study year, and subject 3) comparing those of innovation behavior according to gender, year, and subject, and 4) examining relationship between information behavior and innovation behavior of undergraduate students. The samples of this research were 359 undergraduate students in faculty of humanities and social sciences, Burapha University through stratified random sampling and used 5 - rating scale questionnaire as a research instrument for data collection. Data were analyzed by mean, standard deviation, F-test and Pearson’s correlation coefficient (r). The research found that: 1) Information behavior and innovation behavior of undergraduate students in faculty of humanities and social sciences were at a high level as a whole (􀝔̅ = 3.58 and 􀝔̅ = 3.57) 2) There was no significant difference in information behavior among those of students with different gender, except junior students and senior students significantly gained more at .05 level in information seeking than those of sophomore students, and student in social sciences gained more in information need than those of students in humanities whereas students in language gained more in information seeking than those of humanities. 3) There was no significant difference in innovation behavior as a whole and each aspect among those of students with different gender, study year, except students in social sciences gained more in thinking leader than those of students in humanities 4) There was a positive relationship as a whole and each aspect between information behavior and innovation behavior of undergraduate students in faculty of humanities and social sciences. (r = .698)en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_251.pdf885.14 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น