กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4061
ชื่อเรื่อง: ความผันแปรตามฤดูกาลของประชาคมปูน้ำเค็มในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชทางทะเล หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ระยะที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Seasonal variation of marine crabs community in the Marine Plant Genetic Conservation Area, Mo Ko Samaesarn, Chon Buri Province Phase 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปูน้ำเค็ม - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
ปู - - การขยายพันธุ์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการสำรวจประชากรของปูม้าก้ามหนาม Charybdis acutifrons ปูม้าอินโดแปซิฟิก C. hellerii และปูม้าหิน Thalamita pelsarti บริเวณชายฝั่งของหมู่เกาะแสมสาร โดยการวางลอบดักปูใน แนวปะการังบริเวณจุดสำรวจ 3 แห่ง ได้แก่ ชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะแรด ชายฝั่งด้านตะวันออก ของเกาะปลาหมึก และชายฝั่งของหาดลูกลม เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จ. ชลบุรี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนกันยายน 2560 ได้ตัวอย่างปูม้าก้ามหนามทั้งสิ้น 56 ตัว เป็นปูเพศผู้ 40 ตัว ปูเพศเมีย 9 ตัว ซึ่งเป็นปูเพศเมียไข่ติด 7 ตัว โดยคิดเป็นอัตราส่วนปูเพศผู้ต่อปูเพศเมียเท่ากับ 2.5:1.0 ขนาดของปูที่สำรวจพบมีความกว้างของกระดองอยู่ในช่วงประมาณ 53-89 มิลลิเมตร ปูที่พบขนาดใหญ่ที่สุดเป็นปูเพศผู้ซึ่งมีขนาดความกว้างและความยาวของกระดองเท่ากับ 89.11 และ 65.20 มิลลิเมตร ตามลาดับ ส่วนปูที่พบขนาดเล็กที่สุดเป็นปูเพศเมียซึ่งมีขนาดความกว้างและความยาวของกระดองเท่ากับ 52.82 และ 36.67 มิลลิเมตร ตามลำดับ สาหรับปูม้าอินโดแปซิฟิกที่สำรวจพบมีทั้งสิ้น 41 ตัว เป็นปูเพศผู้ 28 ตัว ปูเพศเมีย 9 ตัว ซึ่งเป็นปูเพศเมียไข่ติด 4 ตัว โดยคิดเป็นอัตราส่วนปูเพศผู้ต่อปูเพศเมียเท่ากับ 2.1:1.0 ขนาดของปูที่สำรวจพบมีความกว้างของกระดองอยู่ในช่วงประมาณ 47-78 มิลลิเมตร ปูที่พบขนาดใหญ่ที่สุดเป็นปูเพศผู้ซึ่งมีขนาดความกว้างและความยาวของกระดองเท่ากับ 77.87 และ 51.16 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนปูที่พบขนาดเล็กที่สุดเป็นปูเพศเมียซึ่งมีขนาดความกว้างและความยาวของกระดองเท่ากับ 47.34 และ 36.34 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนปูม้าหินที่สำรวจพบมีทั้งสิ้น 56 ตัว เป็นปูเพศผู้ 38 ตัว ปูเพศเมีย 18 ตัว ซึ่งเป็นปูเพศเมียไข่ติด 8 ตัว โดยคิดเป็นอัตราส่วนปูเพศผู้ต่อปูเพศเมียเท่ากับ 2.1:1.0 ขนาดของปูที่สำรวจพบมีความกว้างของกระดองอยู่ในช่วงประมาณ 32-71 มิลลิเมตร ปูที่พบขนาดใหญ่ที่สุดเป็นปูเพศผู้ซึ่งมีขนาดความกว้างและความยาวของกระดองเท่ากับ 71.29 และ 46.36 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนปูที่พบขนาดเล็กที่สุดเป็นปูเพศเมียซึ่งมีขนาดความกว้างและความยาวของกระดองเท่ากับ 32.38 และ 18.87 มิลลิเมตร ตามลำดับ
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4061
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_232.pdf2.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น