กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4052
ชื่อเรื่อง: การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์พฤติกรรมสุขภาพและความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perceptions of pregnancy risk, health behaviors and holistic health service needs among women of advanced maternal age
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริวรรณ แสงอินทร์
ช่อทิพย์ ผลกุศล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ครรภ์
ครรภ์ - - การดูแลและสุขวิทยา
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์อายุมากมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การตั้งครรภ์อายุมากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนั้นการให้บริการสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์อายุมากจึงควรให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ในการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมจำเป็นต้องทราบถึงการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก จำนวน 3 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลระยอง และโรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 190 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก และแบบสอบถามความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90, .92, .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way ANOVA, Independent t-test, Point biserial correlation coefficient, Spearman’s rho correlation coefficient, Pearson’s correlation coefficient และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก 1.1 หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีคะแนนการรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์เฉลี่ย 296.13 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ 1.2 หญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีระดับการศึกษา จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และภาวะ แทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ต่างกัน มีการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 13.35, df = 2, p < .001; t = 2.74, df = 188, p = .007 และ t = -4.64, df = 94.62, p < .001 ตามลำดับ) 1.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์อายุมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุครรภ์ (r = .168, p = .020) จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ (r = -.196, p = .007) และภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ (r = .343, p = .001) 2. พฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก 2.1 หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเฉลี่ย 141.34 ซึ่งอยู่ในระดับดี 2.2 หญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีรายได้ครอบครัว และอายุครรภ์ต่างกัน มีพฤติกรรม สุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 4.36, df = 4, p = .002; F = 3.81, df = 2, p = .024 ตามลำดับ) 2.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อายุมากอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา (r = .167, p = .022) รายได้ครอบครัว (r = .200, p = .006) และอายุครรภ์ (r = .151, p = .037) 3. ความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก 3.1 หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีคะแนนความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมเฉลี่ย 67.54 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อมูลเชิงลึก หญิงตั้งครรภ์อายุมากต้องการให้คลินิกฝากครรภ์ ให้บริการด้วยความรวดเร็ว มีบุคลากรและที่นั่งอย่างเพียงพอ บริการด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม แพทย์/พยาบาลให้คำแนะนาปรึกษา และเปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม 3.2 หญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีปัจจัยส่วนบุคคล (ซึ่งได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว อายุครรภ์ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์) ต่างกัน มีความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = .30, df = 2, p = .742; F = 2.25, df = 4, p = .066; F = .53, df = 2, p = .588; t = -.49, df = 28.74, p = .625 และ t = -.97, df = 144.92, p = .335 ตามลำดับ) 3.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ครอบครัว (r = .176, p = .015) และพฤติกรรมสุขภาพ (r = .187, p = .010) ผลการวิจัยครั้งนี้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับหญิงตั้งครรภ์อายุมากต่อไป
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4052
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_221.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น