กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4028
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเสียหายของอุโมงค์รถไฟในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of railway tunnels damages in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
อุโมงค์
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจความเสียหายของอุโมงค์รถไฟที่ผ่านหุบเขาทั้ง 7 แห่งของประเทศไทยได้แก่ อุโมงค์ปางตูบขอบ อุโมงค์เขาพลึง อุโมงค์ห้วยแม่ลาน อุโมงค์ขุนตาน อุโมงค์พระพุทธฉาย อุโมงค์เขาพังเหย และอุโมงค์ช่องเขา การสำรวจความเสียหายใช้หลักการประเมินความเสียหายของฝ่ายบริหาร ขนส่งมวลชนของรัฐแมรี่แลนด์ โดยเป็นการสำรวจความเสียหายด้วยสายตา ความเสียหายหลักที่ได้ทำการสำรวจประกอบไปด้วย การสำรวจการรั่วซึมของน้ำ การแตกร้าวของคอนกรีต และการหลุดร่อนของ คอนกรีต เกณฑ์การประเมินแบ่งออกเป็น 10 ช่วง ตั้งแต่ 0 ถึง 9 โดย 9 หมายถึงโครงสร้างที่ก่อสร้าง เสร็จใหม่ ส่วน 0 หมายถึง โครงสร้างที่อยู่ในสภาพวิกฤต ทำการสำรวจและประเมินความเสียหายของ อุโมงค์ทุกๆ 25 เมตร จากนั้นทำการคำนวณค่าความเสียหายรวมของอุโมงค์ ผลการสำรวจความเสียหายของอุโมงค์เมื่อพิจารณาความเสียหายโดยรวม อุโมงค์ที่เสียหายมาก ที่สุดคือ อุโมงค์เขาพลึง โดยมีค่าความเสียหายอยู่ที่ 4.58 สามารถระบุได้ว่าเป็นอุโมงค์ที่มีสภาพแย่ถึง พอใช้ ตามมาตรฐานของฝ่ายบริหารขนส่งมวลชนของรัฐแมรี่แลนด์ และอุโมงค์ที่เสียหายน้อยที่สุดคือ อุโมงค์เขาพังเหย โดยมีค่าความเสียหายอยู่ที่ 5.84 สามารถระบุได้ว่าเป็นอุโมงค์ที่มีสภาพพอใช้ถึงดี ตามมาตรฐานของฝ่ายบริหารขนส่งมวลชนของรัฐแมรี่แลนด์ ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้สามารถ นำไปเพื่อเป็นข้อมูลในการสำรวจความเสียหายโดยละเอียดและเพื่อประกอบในการวางแผนปรับปรุง อุโมงค์ให้มีสภาพดีขึ้นในอนาคต
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4028
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_191.pdf5.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น