กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4022
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภาคภูมิ พระประเสริฐ
dc.contributor.authorเกศราภรณ์ จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2021-04-07T08:16:31Z
dc.date.available2021-04-07T08:16:31Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4022
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและการสังเคราะห์วิตามินบี 1 (ไทอะมีน thiamine) และศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ Hydroxymethylpyrimidine kinase/ Thiamine phosphate phosphorylase (HMPK/TPP) ของข้าวไทย ซึ่งจากการวิเคราะห์หาปริมาณไทอะมีนโดยวิธีทางสเปคโตรโฟโตเมตรี พบว่า ข้าวไทย 30 พันธุ์ มีความผันแปรของปริมาณไทอะมีนอยู่ระหว่าง 0.144 0.447 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม โดยมีไทอะมีนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 0.274 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และจากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ข้าว 5 พันธุ์ ได้แก่ กข7 กข15 กข23 กข41 และกข43 มีปริมาณไทอะมีนสูงที่สุด ส่วนข้าวพันธุ์ กข11 กข 31 และพิษณุโลก 2 จัดอยู่ในกลุ่มข้าวที่มีปริมาณไทอะมีนต่ำที่สุด โดยข้าวที่มีปริมาณไทอะมีนต่ำสุดมีปริมาณไทอะมีนต่ำกว่าพันธุ์ที่มีสูงที่สุดประมาณ 3 เท่า จากการทดลองดังกล่าวได้คัดเลือกข้าวจำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ กลุ่มที่มีไทอะมีนสูง (กข41 และ กข43) กลุ่มที่มีไทอะมีนปานกลาง (สุพรรณบุรี 1 และ กข29) และกลุ่มที่มีปริมาณไทอะมีนต่ำ (กข11 และพิษณุโลก 2) เพื่อนามาศึกษาปริมาณไทอะมีนในแต่ระระยะการเจริญของดอกและผล โดยเก็บตัวอย่างในระยะดอกบาน ระยะน้ำนม ระยะข้าวเม่า และระยะเก็บเกี่ยว พบว่าเมื่อเมล็ดมีพัฒนาการการสะสมไทอะมีนในเมล็ดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย ในระยะดอกบานมีปริมาณไทอะมีนน้อยที่สุด และหลังจากนั้นจึงมีการสร้างและสะสมปริมาณไทอะมีนเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนในระยะน้ำนม จากนั้นจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจนถึงระยะเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นระยะที่พบปริมาณของไทอะมีนมากที่สุดในข้าวพันธุ์ กข41 กข43 สุพรรณบุรี 1 กข29 และกข11 ส่วนพันธุ์พิษณุโลก 2 มีปริมาณไทอะมีนสูงที่สุดในระยะน้ำนม และมีปริมาณลดลงในระยะข้าวเม่าจากนั้นปริมาณจะคงที่จนกระทั่งถึงระยะเก็บเกี่ยว ทั้งนี้พบว่าโปรตีน Thiamine phosphate phosphorylase (TPP) เป็นโปรตีนที่ทาหน้าที่เร่งปฏิกิริยาได้ 2 หน้าที่ คือ Hydroxymethylpyrimidine kinase (HMPK) และ TPP ดังนั้นเพื่อให้การวัดกิจกรรมสอดคล้องกับการทำงานในเนื้อเยื่อจริง จริงทำการวัดกิจกรรมของเอนไซม์ในการทำหน้าที่ทั้งสองอย่างพร้อมกัน คือ HMPK/TPP พบว่า ในเมล็ดข้าวที่ระยะการพัฒนาของเมล็ดทั้ง 4 ระยะ พบว่า ในระยะดอกบานกิจกรรมของเอนไซม์ HMPK/TPP น้อยที่สุด และมีกิจกรรมสูงขึ้นและสูงที่สุดในระยะข้าวเม่าจากนั้นลดลงในระยะเก็บเกี่ยว เมื่อเปรียบเทียบในข้าวทั้ง 6 พันธุ์ พบว่ากิจกรรมของเอนไซม์ HMPK/TPP มีแนวโน้มที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งแต่ละระยะมีกิจกรรมของเอนไซม์เฉลี่ยในข้าว 6 พันธุ์ เท่ากับ 0.14, 0.24, 0.32 และ 0.28 นาโนโมลไทอะมีน/นาที/มิลลิกรัมโปรตีน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจากการวิจัยทำให้เห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีความสามารถในการสร้างและสะสมไทอะมีนเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectเมล็ดข้าว - - การเจริญเติบโตth_TH
dc.subjectวิตามินบี 1th_TH
dc.subjectข้าว - - ไทย - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleปริมาณและการสังเคราะห์วิตามินบี 1 ของข้าวไทยและกิจกรรมของเอนไซม์ Thiamine phosphate phosphorylase ในระหว่างการเจริญของเมล็ดข้าวth_TH
dc.title.alternativeThe extent and synthesis of vitamin B1 in thai rice seeds and the activity of Thiamine phosphate phosphorylase during seed developmenten
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailphakpoom@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailkasaraporn@buu.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to investigate the extent and biosynthesis of vitamin B1 (thiamine) in thai rice grain and to consider the activity of Hydroxymethylpyrimidine kinase/Thiamine phosphate phosphorylase (HMPK/TPP) during grain development. The determination of thiamine in 30 cultivars of Thai rice by spectrophotometry method showed the variation between 0.144 0.447 mg/ 100 g. The statistical analysis revealed that RD7, RD15, RD23, RD 41, and RD43 had highest thiamine contend among 30 Thai rice cultivars. RD11, RD13 and PSL2 had the lowest thiamine content. The lowest thiamine cultivar had 3 times lower than the highest thiamine cultivar. Six cultivars, RD41 and 43 for high thiamine cultivars, SPR1 and RD29 for medium thiamine cultivars, and RD11 and PSL2 for low thiamine cultivars, were selected to study of thiamine during development of grain. Samples were collected at flowering, milky, dough, and harvesting stage. The results showed that RD41, RD43, SPR1, RD29, and RD11 had the highest thiamine in harvesting stage while PSL2 showed the highest content in milk stage and decreased afterward. The study of Thiamine phosphate phosphorylase (TPP) which is the bifunctional protein and can worked as Hydroxymethylpyrimidine kinase (HMPK). Thus, in this study was determined the activity of HMPK/TPP in the same reaction due to consider the actual activity within the cell. The activity of HMPK/TPP was lowest in the flowering stage, increased to the highest in dough stage and decreased afterward. The averages of HMPK/TPP activity from 6 cultivars were 0.14, 0.24, 0.32, and 0.28 nmole thiamine/min/mg protein, in flowering, milky, dough, and harvesting stage, respectively. However, this research showed the possibility to develop high thiamine content for the nutritious value of rice.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_184.pdf2.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น