กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4019
ชื่อเรื่อง: การลดปัจจัยเสี่ยงและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk reduction and cardiac rehabilitation of myocardial infarction persons
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภรณ์ ดีนาน
พัทธ์ชนก วิถีธรรมศักดิ์
วชิราภรณ์ สุมนวงศ์
สมสมัย รัตนกรีฑากุล
ชัชวาล วัตนะกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
กล้ามเนื้อหัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย
คุณภาพชีวิต
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้ปุวยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ สามารถปูองกันโรคแทรกซ้อนรวมและเพิ่มคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized Controlled Trial [RCT]) มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมลดความเสี่ยงและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 196 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 80 รวม และกลุ่มควบคุม 116 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่คณะวิจัยพัฒนามาจากผลการวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง โดยมีเนื้อหาเปประกอบดด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การเยี่ยมบ้าน การติดตามทางโทรศัพท์และพัฒนาทักษะในการออกกาลังกายด้วยการเดิน โดยมีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเป็นโค้ชและใช้อุกรณ์นับก้าว (Garmin, Viofit) ประเมินผลก่อน หลังและระยะติดตาม 3 เดือน โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ แบบวัดการรับรู้ปัญหาสุขภาพ สมรรถนะการทาหน้าที่ แบบวัดความซึมเศร้า แบบประเมินคุณภาพชีวิตและการตรวจไขมันในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณา การวิเคราะห์ค่าทีและการวิเคราะห์ค่าความแปรปรรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพดีขึ้นและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสาคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ พฤติกรรมการออกกาลังกาย พฤติกรรมการจัดการความเครียด การ รับรู้ปัญหาการเจ็บป่วย สมรรถนะการทำหน้าที่ ความซึมเศร้า คุณภาพชีวิต และ ระดับไขมัน HDL แต่ไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมการรับประทานอาหารระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิตของระยะเวลาก่อน หลัง และระยะติดตาม (p<.05) ของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกาลังกาย พฤติกรรมการจัดการความเครียด การรับรู้ปัญหาการเจ็บป่วย สมรรนะการทำหน้าที่ ความซึมเศร้าและคุณภาพชีวิต ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมลดความเสี่ยงและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สร้างขึ้นนี้ ให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี จึงควรนำโปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้ไปใช้กับผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอื่น ๆ รวมทั้งนำทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นและเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประามณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4019
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_181.pdf754.9 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น