กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3987
ชื่อเรื่อง: การสำรวจและจำแนกชนิดของแมงกะพรุนในบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A survey and identification of jellyfish in coastal area, Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชญา กันบัว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: แมงกะพรุน
แมงกะพรุน -- พิษ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาโครงสร้างประชาคมของแมงกะพรุนบริเวณหาดวอนนภาและหาด บางแสน จังหวัดชลบุรี โดยเก็บตัวอย่างในช่วงเดือนมีนาคม 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 ทุกเดือน รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง ทำการเก็บตัวอย่างด้วยการวางอวนลอยขนาดช่องตา 3 นิ้ว จำนวน 3 ผืน ผืนละ 350 เมตรรวมระยะทางทั้งสิ้น 1 กิโลเมตรต่อจุด ผลการศึกษาพบแมงกะพรุนทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema hispidum) ขนาดความยาวขอบร่มมีค่าเฉลี่ย 32.00 เซนติเมตร น้ำหนักมีค่าเฉลี่ย 5.55 กิโลกรัม แมงกะพรุนลอดช่อง (Lobonema smithii) ขนาดความยาวขอบร่มมีค่าเฉลี่ย 21.75 เซนติเมตร น้ำหนักมีค่าเฉลี่ย 3.03 กิโลกรัม แมงกะพรุนจุดขาว (Phyllorhiza punctata) ขนาดความยาวขอบร่มมีค่าเฉลี่ย 17.50 เซนติเมตร น้ำหนักมีค่าเฉลี่ย 0.23 กิโลกรัมและแมงกะพรุนไฟ (Pelagia panopyra) ขนาดความยาวขอบร่มมีค่าเฉลี่ย 9.13 เซนติเมตร โดยพบแมงกะพรุนหนังเป็นกลุ่มเด่น ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ ณ บริเวณจุดเก็บตัวอย่าง พบค่าความเค็มมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 31.00 พีเอสยู (psu) อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.67 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.30 และค่าออกซิเจนละลายน้ำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.17 มิลลิกรัมต่อลิตร ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแมงกะพรุนบริเวณหาดวอนนภาและหาดบางแสนคือ ความเค็ม
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3987
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_145.pdf1.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น