กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3963
ชื่อเรื่อง: การแพร่กระจายและผลของโลหะหนักต่อพฤติกรรมการกินและมิญชวิทยาของระบบทางเดินอาหาร ของหอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) และหอยโข่ง (Pila spp.) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Distribution and effects of heavy metals on feeding behavior and histology of digestive system in pomacea canaliculata) and pila spp. in the eastern region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทิมา ปิยะพงษ์
ศศิธร มั่นเจริญ
จิรารัช กิตนะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: หอยเชอรี่
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ถูกจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในประเทศไทยและมีผลต่อการลดลงของจำนวนประชากรหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง (Pila spp) โดยหอยเชอรี่แสดงพฤติกรรมการกินอาหารมากกว่าหอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองและมีแนวโน้มที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง ความเป็นพิษของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลต่อการตอบสนองทางพฤติกรรมต่าง ๆ และพยาธิสภาพของเซลล์ในเนื้อเยื่อหอย ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการกินอาหารและพยาธิสภาพของเซลล์ในระบบทางเดินอาหารของหอยเชอรี่และหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง (P. pesmei) ที่ได้รับตะกั่วซึ่งเป็นโลหะหนักที่ใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาครั้งนี้ที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน (0.05 0.5 และ 5 ppm) จากผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าหอยเชอรี่แสดงพฤติกรรมการกินอาหารมากกว่าหอย โข่งพันธุ์พื้นเมือง ผลการศึกษาพยาธิสภาพของเซลล์ในเนื้อเยื่อต่อมย่อยอาหารพบว่าหอยเชอรี่มีการเสียสภาพของเนื้อเยื่อบุผิวน้อยกว่าหอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองแต่มีจำนวนเซลล์เบโซฟิ ลิคและแกรนูลสี เข้มมากกว่าหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง ส่วนเนื้อเยื่อหลอดอาหารของหอยเชอรี่มีการเพิ่มจำนวนเซลล์มิวคัสมากกว่าหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง ผลการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการกินอาหารและพยาธิสภาพของเซลล์ในระบบทางเดินอาหารของหอยทั้ง 2 ชนิดพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่าหอยเชอรี่มีความทนทานต่อสารละลายตะกั่วในขณะที่หอยโข่งพันธุ์พื้นเมืองสะสมสารละลายตะกั่วในเนื้อเยื่อได้สูง ดังนั้นหอยทั้ง 2 ชนิดนี้อาจถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหอยฝาเดียวน้ำจืดทั้ง 2 ชนิดเพื่อใช้เป็นสัตว์ต้นแบบในการติดตามและเฝ้า ระวังผลกระทบจากการปนเปื้อนตะกั่วในสิ่งแวดล้อมได้
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3963
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_110.pdf1.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น