กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/396
ชื่อเรื่อง: ความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และผู้ให้บริการ ณ โรงพยาบาลระยอง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต
สุคนธา ผาสุข
นิภาวรรณ์ รัมภารัตน์
ปิยฉัตร ปธานราษฎร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การคลอด
การคลอดธรรมชาติ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และผู้ให้บริการ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวที่มารับบริการในโรงพยาบาลระยอง จำนวน 370 คน และผู้ให้บริการด้านสูติกรรมของโรงพยาบาลระยอง จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ แบบวัดทัศนคติเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ แบบสอบถามความต้องการการคลอดธรรมชาติ และแบบสอบถามปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการการคลอดธรรมชาติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. หญิงตั้งครรภ์มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X¯= 22.73 SD = 3.24, X¯119.18 SD = 8.49 และ X¯= 88.33 SD= 7.74 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาอิทธิพลของความรู้และทัศนคติที่มีต่อความต้องการมีส่วนร่วมของ สามีในการส่งเสริมการคลอดวิถีธรรมชาติ พบว่า ความรู้และทัศนคติสามารถร่วมกันพยากรณ์ความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดวิถีธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดวิถีธรรมชาติได้ร้อยละ 34.5 2. ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง(X¯= 22.78SD = 3.279, X¯= 119.47 SD = 8.506 และ X¯= 89.23 SD = 8.035ตามลำดับ) เมื่อพิจารณษอิทธิพลของความรู้และทัศนคติที่มีต่อความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดวิถีธรรมชาติ พบว่า ความรู้และทัศนคติสามารถร่วมกันพยากรณ์ความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดวิถีธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความต้องการมีส่วนร่วมของสามีในการส่งเสริมการคลอดวิถีธรรมชาติได้ร้อยละ 19.3 3. ผู้ให้บริการมีคะแนนเฉลี่ยคสามรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติโดยรวมอยู่ในระดับสูง(X¯= 28.94 SD = 3.54,X¯= 138.34SD = 13.60 และ X¯= 95.53 SD = 6.18 ตามลำดับ) ผลการศึกษานี้นำมาซึ่งข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการพัฒนาในการพัฒนารูปแบบให้บริการคลอดวิถีธรรมชาติโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสามีที่ตอบสนองความต้องการของสามี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/396
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น