กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3959
ชื่อเรื่อง: ผลของฮอร์โมน17α-methyltestosterone และ letrozole ต่อกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และการแปลงเพศในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัมพร ทองกู้เกียรติกูล
คำสำคัญ: ปลาการ์ตูนส้มขาว
ปลาการ์ตูนส้มขาว - - การเลี้ยง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของ letrozole และ ฮอร์โมน 17α-methyltestosterone ต่อการเปลี่ยนแปลงโกนาดและการเปลี่ยนเพศปลาการ์ตูนส้มขาว Amphiprion ocellaris โดยใช้ letrozole ความเข้มข้น 50 และ 100 และ มิลลิกรัม / กิโลกรัม (อาหาร) และ -methyl testosterone ความเข้มข้น 50 และ 100 มิลลิกรัม / กิโลกรัมอาหาร ผสมกับอาหารแล้วเลี้ยงปลาเป็นเวลานาน 60, 90 และ 210 วัน พบว่า letrozole ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม / กิโลกรัม (อาหาร) เลี้ยงปลานาน 210 วัน สามารถเปลี่ยนเพศปลาได้และไม่มีความผิดปรกติในการพัฒนาของ โกนาด การให้ฮอร์โมน 17α-methyl testosterone ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม / กิโลกรัม (อาหาร) เป็นเวลานาน 210 วันพบว่า ฮอร์โมน 17α- methyl testosterone กระตุ้นการสร้างสเปริม์จำนวนมาก แต่ภายใน gonad มี atretic cells จำนวนมาก ซึ่งผลการศีกษาครั้งนี้แสดงว่าความเข้มข้นของ 17α-methyl testosterone สูงมีผลต่อการเจริญและการพัฒนาของโกนาด แต่การวิจัยครั้งนี้พบปลาที่ได้รับ letrozole หรือ17α- methyl testosterone มีน้ำหนักไม่แตกต่างจากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ การให้ letrozole ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม / กิโลกรัม (อาหาร) นาน 210 วัน ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงจุลกายวิภาคของสเปอร์มาโทไซต์ สเปอร์มาทิด และ สเปอร์มาโทซัว
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สัญญาเลขที่ 10/2561
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3959
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_106.pdf1.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น