กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3948
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปริมาณความต้องการน้ำและวิธีการให้น้ำที่เหมาะสม สำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Study on Water Requirement and Optimum Water Application to Durian cv. Monthong
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมิตร คุณเจตน์
ไพฑูรย์ ศรีนิล
สมบัติ ฝอยทอง
สุคนทิพย์ เถาโมรา
เอื้อน ปิ่นเงิน
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: ทุเรียน
ทุเรียน -- การปลูก
ทุเรียน -- พันธุ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษาปริมาณความต้องการน้ำของทุเรียนพันธุ์หมอนทอง อายุ 7 ปี ในแปลงปลูกของ เกษตรกรอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณการใช้น้ำของต้นทุเรียน พันธุ์หมอนทอง สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการจัดการน้ำในสวนทุเรียนอย่างมีประสิทธิภาพตามความ ต้องการของทุเรียน โดยการติดตั้งสถานีตรวจวัดสภาพอากาศในแปลงทดลอง บันทึกปริมาณการใช้น้ำ ของพืชอ้างอิง (reference evapotranspiration, ETo) และค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ ( Crop coefficient, Kc) ของทุเรียน โดยเดือนเมษายน มีค่าเท่ากับ 0.75 แล้วนำมาคำนวณตามสมการของ Penman-Monteith (Allen et al., 1998). และการประเมินการใช้น้ำของทุเรียนจากข้อมูลการ เคลื่อนที่ของน้ำในลำต้นทุเรียน (sap flow) โดยการติดตั้งหัวตรวจวัดการเคลื่อนที่ของน้ำในลำต้น ทุเรียน (sap flow) ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร ทำการเก็บข้อมูลทุก 30 นาที ผลการ ทดลองพบว่า ปริมาณการใช้น้ำของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่คำนวณจากค่า ETo มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30-270 ลิตรต่อวัน ส่วนปริมาณการใช้น้ำที่ประเมินจาก sap flow มีค่าเฉลี่ย 100-270 ลิตรต่อวัน โดยปริมาณการใช้น้ำของทุเรียนมีความสัมพันธ์กับค่าปริมาณไอน้ำที่อากาศสามารถรับเพิ่มได้ (vapor pressure deficit, VPD) และความชื้นในดิน แสดงให้เห็นว่าปริมาณการใช้น้ำของต้นทุเรียนมีค่ามาก ในช่วงที่อากาศมีค่า VPD ต่ำ และมีความชื้นในดินสูง จากการศึกษารูปแบบวิธีการให้น้ำที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในสวนทุเรียน พบว่าระบบการให้แบบสปริงเกอร์มีความยาวของกิ่งที่เกิดใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งที่เกิดใหม่ ความยาวของใบ ความกว้างของใบ และคลอโรฟิลล์ในใบทุเรียน มากที่สุด แต่ไม่มีค่าแตกต่างทางสถิติกับระบบการให้น้ำแบบฉีดฝอย จะเห็นได้ว่าสามารถใช้ระบบการ ให้น้าแบบฉีดฝอยแทนระบบการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ ทำให้ประหยัดปริมาณน้ำที่ให้กับต้นทุเรียนได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3948
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_095.pdf2.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น