กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3936
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบและต้านออกซิเดชันในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ของส่วนสกัดจากใบขลู่เพื่อใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อต้านภาวะหลอดเลือดแข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on anti-inflammatory and anti-oxidant activities on human vascular endothelial cells of Pluchea indica leaf extracts for development as anti-atherogenic health care product
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
คำสำคัญ: ใบขลู่
ฤทธิ์ต้านอักเสบ
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในประเทศไทยมีการบริโภคใบขลู่ในรูปของชาสมุนไพร ส่วนสกัดน้ำร้อนของชาใบขลู่แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดของมนุษย์ (EA.hy 926) ที่กระตุ้นด้วย TNF- โดยยับยั้งการแสดงออกของโมเลกุลที่ใช้ในการยึดเกาะของเซลล์ คือ intercellular adhesion molecule-1 (ICAM-1) และ vascular cell adhesion molecule-1 (VCAM-1) อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานถึงสารที่เป็นตัวออกฤทธิ์ต้านอักเสบนี้ ดังนั้นการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะแยกและระบุสารออกฤทธิ์ในชาใบขลู่โดยวิธีฤทธิ์ทางชีวภาพนำการสกัด ทำการสกัดใบชาขลู่จากจังหวัดจันทบุรีด้วยน้ำร้อน และสกัดแยกส่วนส่วนด้วยเฮกเซน เอทิลอะซิเตต และ 1-บิวทานอล ได้ส่วนสกัดย่อยเฮกเซน ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต ส่วนสกัดย่อยบิวทานอล และส่วนสกัดย่อยน้ำ ตามลำดับ โดยพบว่าส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบดีที่สุดจึงทำการเลือกส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต ไปแยกสารต่อด้วยโครมาโตกราฟีแบบคอลัมน์ที่บรรจุ Sephadex LH-20 และสามารถแยก quercetin จากส่วนสกัดย่อย F8.5 ได้ ทำการศึกษาโครงสร้างและสเตอริโอเคมีของสารด้วยข้อมูลทาง nuclear magnetic resonance (NMR) และ high resolution mass spectrometry (HRMS) สาร quercetin ที่แยกได้สามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน ICAM-1 และ VCAM-1 ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น ในการศึกษานี้ ได้ทำการสร้าง HPLC fingerprinting ของส่วนสกัดจากชาใบขลู่โดยใช้ quercetin เป็นโมเลกุลเครื่องหมาย เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพของชาใบขลู่และวิเคราะห์ปริมาณของสารออกฤทธิ์ quercetin โดยพบว่าส่วนสกัดน้ำร้อนของชาใบขลู่มี quercetin ในปริมาณ 1.48 ± 0.10 มิลลิกรัมต่อกรัมของน้ำหนักแห้งของส่วนสกัด นอกจากนี้ ทำการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านการอักเสบ และปริมาณ quercetin ในใบชาขลู่ที่เตรียมจากใบขลู่อ่อน และใบขลู่แก่ ผลการทดลองพบว่าส่วนสกัดจากใบขลู่อ่อน และใบขลู่แก่ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และปริมาณ quercetin ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าทั้งใบขลู่อ่อน และใบขลู่แก่เป็นแหล่งของสารต้านอักเสบจากธรรมชาติ ที่อาจจะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือเป็นองค์ประกอบของอาหารฟังก์ชันในการป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3936
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_081.pdf3.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น