กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3927
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบนาส่งระดับนาโนบรรจุตัวยาฟูราโซลิโดนไปสู่เซลล์มะเร็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development nano-carrier containing furazolidone for delivery to cancer cell
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัชรพงษ์ แจ่มสว่าง
คำสำคัญ: สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ระบบนำส่งยา
โรคมะเร็ง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ระบบนำส่งยาอนุภาคนาโนเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถเพิ่มความจำเพาะต่อการนำส่งไปยังเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะช่วยลดอาการข้างเคียงของยาและเพิ่มความสามารถในการออกฤทธิ์ของยาได้ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ liposome เพื่อนำส่ง Furazolidone และเตรียม Liposome จำก DCA และ Phosphatidylcholine (PD) เพื่อใช้นำส่งไปยังเซลล์มะเร็งด้วยวิธี lipid film hydration method. ตำรับที่เตรียมได้แต่ละสูตรจะนำมาเปรียบเทียบกันในปัจจัยของลักษณะทางกายภาพ ขนาดอนุภาค การกระจายตัวของอนุภาค และความสามารถในการกักเก็บยา ศึกษาความคงตัวในสภาวะจำลองภายในร่างกาย 3 สภาวะ คือ Phosphate buffer saline solution (PBS pH 7.4), RPMI-1640 medium และ DMEM ที่อุณหภูมิ 37ºC เป็นระยะเวลำ 7 วัน พบว่าตำรับที่เหมาะสมที่สุดคือ PD: DCA: Furazolidone in ratio 4:1:5 มีขนาดอนุภาค 177.9556± 39.0976 และสามารถกักเก็บตัวยาได้ถึง 35.6087 ± 4.3671 % และนำตำรับที่คัดเลือกได้นั้นมาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและความสามารถในการนำส่งเข้าสู่เซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) ผลการศึกษาว่า PD: DCA: Furazolidone in ratio 4:1:5 สามารถเพิ่มการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งและนำส่งเข้าสู่เซลล์มะเร็งได้อย่างมีนัยยะสำคัญ (P<0.05) โดยสรุปแล้ว liposome-Deoxycholic acid สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้เป็นระบบนำส่งยาต่อไปได้ในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3927
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_073.pdf3.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น