กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3906
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมและความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชนเขตจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Readiness and Needs for Psychiatric Patient Care of Families Caregivers and Community Networkers in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิชามญชุ์ ปุณโณทก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้ป่วยจิตเวช
ผู้ป่วยจิตเวช -- การดูแล
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคจิตเวชเป็นปัญหาสาธารณสุขสาคัญของประเทศไทย ญาติผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายชุมชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญในระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีแบบแผนการวิจัยแบบผสมผสานคู่ขนานกัน เพื่อศึกษาความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อม และความต้องการสำหรับการดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชนจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแล จำนวน 310 คน และภาคีเครือข่ายชุมชน จำนวน 200 คน (ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุก จานวน 103 คน และหุ้นส่วนชุมชน จำนวน 97 คน) ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน ซึ่งดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณกับญาติผู้ดูแลเป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ความรุนแรงของโรค พลังสุขภาพจิต ทัศนคติ การรับรู้ภาระการดูแล มุมมองเชิงบวกจากการดูแล ความพร้อมในการดูแล และ ความต้องการสาหรับการดูแล ส่วนภาคีเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ทัศนคติ 3ความพร้อมในการดูแล และความต้องการสำหรับการดูแล สาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แนวคาถามการสนทนาแบบปลายเปิดและแนวคาถามสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณมาสังเคราะห์และตีความร่วมกันในภาพรวม 1. ผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการดูแลในชุมชนมีอายุเฉลี่ย 45.96 ปี เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณครึ่งหนึ่งมีสถานภาพโสดและจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยจิตเวชมีระยะเวลาการป่วยทางจิตเวชอยู่ในช่วง 10 ปี มากกว่า 1 ใน 3 มีโรคร่วมกับการป่วยทางจิตเวช ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมโรคร่วมได้ ญาติผู้ดูแลรับรู้ถึงความรุนแรงของโรคภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ 2. ผู้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนมี 2 ส่วนสาคัญ ประกอบด้วย 1) ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าผู้ป่วยจิตเวช ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีสถานภาพคู่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และประกอบอาชีพ ซึ่งบางส่วนระบุว่าการดูแลผู้ป่วยจิตเวชส่งผลต่อการประกอบอาชีพและสถานะทางการเงิน ญาติผู้ดูแลเกือบครึ่งมีโรคประจาตัว ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมโรคร่วมได้ และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพภาพรวมในระดับปานกลาง ญาติผู้ดูแลส่วนใหญ่ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่ แต่ขาดการออกกำลังกาย ไม่ได้ตรวจสุขภาพ และมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ทั้งนี้ญาติผู้ดูแลมากกว่าครึ่งมีพลังสุขภาพจิตภาพรวมอยู่ในระดับต่ำเกณฑ์ปกติ ญาติผู้ดูแลมีความสัมพันธ์เป็นบิดา/มารดาที่ทาหน้าที่ดูแลบุตร และพี่/น้องมากที่สุด ส่วนใหญ่มีเหตุผลของการเป็นผู้ดูแลคือ เป็นหน้าที่ และรู้สึกยอมรับกับบทบาทผู้ดูแลภาพรวมในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วย และยังไม่ได้รับการเตรียมก่อนการดูแลจากโรงพยาบาล ส่วนมากมีจำนวนชั่วโมงในการดูแลเฉลี่ย 1 6 ชั่วโมง ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 10 ปี นอกจากนี้ บางส่วนยังต้องดูแลบุคคลในครอบครัวนอกเหนือจากผู้ป่วยจิตเวช และมากกว่าครึ่งไม่มีผู้ช่วยเหลือในการดูแล 2) ภาคีเครือข่ายการดูแลในชุมชน ที่ทำหน้าดูแลผู้ป่วยจิตเวชและสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลในชุมชน ได้แก่ ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกซึ่งเป็นพยาบาลมากที่สุด อายุเฉลี่ย 38.69 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และเป็นข้าราชการ/พนักงานของรัฐ ในขณะที่ทีมหุ้นส่วนชุมชน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มากที่สุด มีอายุเฉลี่ยมากกว่าทีมดูแลสุขภาพเชิงรุก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยจบการศึกษาระดับประถมศึกษาและประกอบอาชีพเป็นรับจ้างมากที่สุด ส่วนมากของทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกและหุ้นส่วนชุมชนไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วย และไม่เคยได้รับการอบรมเพื่อการดูแล 3. ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชน 1) ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลพบว่า ญาติผู้ดูแลมีการรับรู้ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมด้านการตอบสนองความต้องการของตนเองมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจิตเวช และด้านข้อมูลข่าวสาร แหล่งสนับสนุน และเครือข่าย ซึ่งตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล (B = .407, p < .001) ปัญหาสุขภาพกายผู้ดูแล (B = -.237, p < .001) อายุของผู้ดูแล (B = -.206, p < .001) มุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการดูแล (B = .153, p < .01) และการได้รับการเตรียมก่อนดูแล (B = .126, p < .01) สามารถอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลภาพรวมได้ร้อยละ 40.2 (R2 = .402, F = 40.861, p < .001) 2) ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกพบว่า ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกมีการรับรู้ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมด้านการตอบสนองความต้องการของญาติผู้ดูแลมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจิตเวชใกล้เคียงกับด้านข้อมูลข่าวสาร แหล่งสนับสนุน และเครือข่ายซึ่งตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล (B = .324, p < .01) และการยอมรับบทบาท (B = .217, p < .05) สามารถอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกภาพรวมได้ร้อยละ 21.4 (R2 = .214, F = 13.622, p < .001) 3) ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมหุ้นส่วนชุมชนพบว่า ทีมหุ้นส่วนชุมชนมีการรับรู้ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมด้านการตอบสนองความต้องการของญาติผู้ดูแลมากที่สุดใกล้เคียงกับด้านข้อมูลข่าวสาร แหล่งสนับสนุน และเครือข่าย ส่วนด้านสุดท้ายคือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล (B = .422, p < .001) และการยอมรับบทบาท (B = .272, p < .01) สามารถอธิบายความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของทีมหุ้นส่วนชุมชนภาพรวมได้ร้อยละ 36.1 (R2 =.361, F = 26.508, p < .001) 4. ความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชน 4.1 ความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลพบว่า ญาติผู้ดูแลมีความต้องการภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยในด้านการสร้างแรงจูงใจในการเป็นผู้ดูแล ผู้ดูแลต้องการการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจของผู้ดูแลและครอบครัวให้พร้อมเผชิญกับอาการทางจิตของผู้ป่วย ครอบครัวเข้าใจและยอมรับผู้ป่วย และต้องการกำลังใจจากคนในครอบครัว ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน ผู้ดูแลต้องการกการเตรียมด้านความรู้เกี่ยวกับโรคทางจิตเวช ทักษะการดูแลผู้ป่วย และทักษะในการจัดการความเครียดของตนเอง 4.2 ความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของเครือข่ายชุมชน พบว่า ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกมี มีความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และรายด้านที่มีระดับสูงคือด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน ส่วนด้านการสร้างแรงจูงใจในการเป็นผู้ดูแล และด้านการเตรียมศักยภาพในการเป็นผู้ดูแล มีความต้องการระดับปานกลาง ส่วนทีมหุ้นส่วนชุมชน มีความต้องการภาพรวม และรายด้านทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยความต้องการด้านสร้างแรงจูงใจในการเป็นผู้ดูแลนั้น เครือข่ายชุมชนต้องการเข้าใจในขอบเขตบทบาทในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ชัดเจน การลดช่องว่างระหว่างครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชกับชุมชน ด้านการเตรียมศักยภาพในการเป็นผู้ดูแล เครือข่ายต้องกรด้านความรู้ และทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และการรู้จักครอบครัวของผู้ป่วย ส่วนด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและการสนับสนุน เครือข่ายต้องการให้มีการพัฒนาระบบการทำงานของภาคีเครือข่ายชุมชน โดยให้มีศูนย์เครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน มีศูนย์ส่งต่อที่รวดเร็วและมีระบบรองรับผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติ บุคลากรด้านสุขภาพ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมพัฒนาความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในญาติผู้ดูแล ทีมดูแลสุขภาพเชิงรุก และทีมหุ้นส่วนชุมชน โดยกลวิธีสำคัญในการพัฒนากลุ่มญาติผู้ดูแล ได้แก่ การส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล ดูแลสุขภาพญาติผู้ดูแล เพิ่มมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการดูแล และเตรียมก่อนการดูแล กลวิธีสาคัญในการพัฒนาภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้งทีมดูแลสุขภาพเชิงรุกและทีมหุ้นส่วนชุมชน ได้แก่ การเพิ่มทัศนคติเกี่ยวกับผู้ป่วยและการดูแล และส่งเสริมแรงจูงใจการยอมรับบทบาทการดูแล ตลอดจนพิจารณากลวิธีให้ตอบสนองต่อความต้องการ เพื่อให้ภาคีการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนมีความพร้อมในการดูแล นำไปสู่ประสิทธิภาพการดูแล และผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อตัวผู้ป่วยจิตเวช และภาคีการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3906
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_054.pdf3.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น