กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3887
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงสภาพผิวของโลหะเงินให้เกิดสีโดยวิธีการอะโนไดซ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Color Variation on Silver Surface by Anodization
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งโรจน์ ยิ่งสง่า
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
คำสำคัญ: เครื่องประดับเงิน
เคมีไฟฟ้า
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การทำเหลือบสีบนผิวชิ้นงานโลหะเงินและโลหะเงินสเตอริง ใช้เทคนิคทางไฟฟ้าเคมี คือ กระบวนการอะโนไดซ์ การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการอะโนไดซ์บนชิ้นงานโลหะเงินและโลหะเงินสเตอร์ลิงจะถูกนำไปทำอะโนไดซ์เพื่อให้เกิดฟิล์มบนผิวชิ้นงาน ที่กำลังไฟฟ้า เวลาและความเข้มข้นสารละลายซัลเฟอร์และโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่างกัน การเกิดเหลือบสีบนผิวโลหะเงินสามารถตรวจสอบได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์แสง ลักษณะการเรียงตัวของอนุภาคสีที่ผิวของชิ้นงานตรวจสอบได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพร้อมวิเคราะห์ธาตุด้วยเทคนิค EDS และมีการทดสอบความคงทนสีผิวของชิ้นงาน ด้วยการติดเทปใสบนผิวชิ้นงานแล้วทำการลอกออกเพื่อดูสีที่ติดออกมา จากการทดลองพบว่าลักษณะของชั้นฟิล์มที่เคลือบอยู่บนผิวชิ้นงาน เมื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ทั้งสองชนิดพบว่า ผิวของชิ้นงานเกิดการเหลือบสีและมีอนุภาคการเรียงตัวสีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นสารละลาย เวลาและกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการทำอะโนไดซ์ สภาวะอะโนไดซ์ที่เหมาะสมสำหรับการทำเหลือบสีบนผิวชิ้นงานโลหะเงินและโลหะเงินสเตอริงด้วยกระบวนการอะโนไดซ์ คือ การอะโนไดซ์ในซัลเฟอร์และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้นในอัตราส่วนที่ 1:1 เวลา 15 วินาที กำลังไฟฟ้า 3 โวลต์ สีที่ได้จากการทำเหลือบสีบนชิ้นงานด้วยกระบวนการอะโนไดซ์ มีความคงทนไม่หลุดลอกง่าย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3887
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_038.pdf7.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น