กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3874
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอาลักษณ์ ทิพยรัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2020-04-14T03:13:46Z
dc.date.available2020-04-14T03:13:46Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3874
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเจริญเติบโตและการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรียอินโนคัว ในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนแบบคัดเลือกและไม่คัดเลือก เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับขั้นตอนการตรวจเชื้อลิสทีเรีย ทั้งนี้ใช้ เชื้อแอลอินโนคัว ซึ่งเป็นเชื้อไม่ก่อโรค เป็นเชื้อทดสอบเนื่องจากเชื้อแอลอิโนคัว มีลักษณะทางสรีรวิทยาใกล้เคียงกับเชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส สำหรับการทดลองได้ทำการเปรียบเทียบการเจริญของเชื้อแอลอินโนคัวบนอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ เอ็นบี แอลบี และทีเอสบี และบนอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่ใช้สำหรับการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรียโดยเฉพาะโดยไม่มีการใส่สารยับยั้งในสูตร ได้แก่ บีแอลอีบี เอฟบี และพีบีโดยทำการบ่มที่อุณหภูมิต่าง ๆ ได้แก่ 30, 35, 37, และ 40 องศาเซลเซียส จากนั้นประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ชนิดซิกมอยด์ในการอธิบายลักษณะการเจริญโดยคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางจลนพลศาสตร์ ได้แก่ อัตราการเจริญจาเพาะสูงสุด (max) เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนแบบไม่คัดเลือกจากลักษณะการเจริญและพารามิเตอร์ทางจลนพลศาสตร์ที่ได้พบว่าอุณหภูมิการบ่มที่เหมาะสมสำหรับการเจิญของเชื้อแอล อินโนคัว เท่ากับ35 องศาเซลเซียส โดยเป็นสภาวะที่ค่า max และความหนาแน่นเซลล์สุดท้ายสูงที่สุด นอกจากนี้ในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนแบบไม่คัดเลือก ยังได้เลือกอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวทีเอสบี มาใช้กับเชื้อแอลอินโนคัว ด้วย สำหรับการศึกษาผลของสารยับยั้งสำหรับการตรวจพบเชื้อลิสทีเรีย ใช้สารยับยั้งที่แนะนำให้ใช้ในการตรวจเชื้อตามวิธีมาตรฐานทั่วไป ได้แก่ เอ็นจีเอฟไอเอส ไอดีเอฟ ยูเอส เอฟดีเอ เอ็นเอ็มเคแอลไอเอสโอ เอโอเอซี และยูเอสดีเอ-เอฟเอสไอเอส ทำการทดลองโดยเติมสารคัดเลือกสำหรับเชื้อลิสทีเรียที่ใช้ทั่วไปในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว ทีเอสบี เพื่อศึกษาการเจริญและการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรีย จากกราฟการเจริญของเชื้อ พบว่าอคริฟลาวีน มีผลต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกอย่างเห็นได้ชัด และประเด็นที่น่าสนใจคือ เชื้อแอลอินโนคัว สามารถทนต่ออคริฟลาวีน ได้น้อยกว่าเชื้อสแต็ปฟี โลค็อกคัสออเรียส ในทางตรงกันข้าม โพลีมัยซิน บี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมลบและแกรมบวก แต่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้น้อยกว่า โดยโพลีมันซิน บี ที่ความเข้ม 10 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งเป็นความเข้มข้นต่ำที่สุดในการศึกษา มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ อี โคไล จาก 6 ล็อก ซีเอฟยู/ มิลลิลิตร ให้ลดลงเหลือน้อยกว่า 2 ล็อก ซีเอฟยู/มิลลิลิตร ภายในระยะเวลาการบ่ม 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่ากรดนาลิดิซิกมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมลบเท่านั้น และมีประสิทธิภาพน้อยกว่า โพลีมัยซินบี ในกรณีของลิเธียม คลอไรด์ ถึงแม้จะไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อจุลชีพ ในส่วนของการคัดเลือกเชื้อลิสทีเรียในอาหารแข็ง เพื่อความสะดวกในงานวิจัยได้มีการใช้เทคโนโลยีการเพาะเชื้อระดับจุลภาคร่วมกับการถ่ายภาพแบบดิจิทัลเข้ามาช่วย ด้วยวิธีดังกล่าวทำให้ได้ข้อมูลจำนวนมากและลดปริมาณสารที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อลิสทีเรีย โดยพบว่าการใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นร่วมกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมทำให้สามารถเปรียบเทียบค่าตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการปรับค่าแสงให้เหมาะสมจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของภาพถ่ายแบบดิจิทัลได้ สำหรับการศึกษาผลของการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง Oxoid Chromogenic Listeria agar (OCLA) โดยใช้แรงเฉือนสูงร่วมกับการฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรซ์โดยใช้ไมโครเวฟพบว่ากลุ่มเชื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น จากผลการวิเคราะห์พบว่า แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ชนิดลอจิสติกสามารถใช้แสดงลักษณะการเจริญเติบโตของกลุ่มเชื้อลิสทีเรียอิวาโนวิและลิสทีเรียอินโนคัวบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งจำเพาะ 3 ชนิด ได้แก่ อ๊อกซฟอร์ด พาลคาม และโอซีแอลเอได้ดี อย่างไรก็ตามจลนพลศาสตร์ของเชื้อแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยเชื้อลิสทีเรียอิวาโนวิสามารถเจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งจำเพาะได้น้อยกว่าเชื้อลิสทีเรียอินโนคัว จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าความเข้มข้นของสารยับยั้งที่ความเข้มข้น 0.25 ถึง 2.00 เท่า พบว่าการลดปริมาณสารยับยั้งช่วยให้การเจริญเติบโตของกลุ่มเชื้อลิสทีเรียดีขึ้นอีกทั้งช่วยลดระยะเวลาในการวิเคราะห์ลงได้ นอกจากนี้การแทนที่ชุดสารยับยั้งเดิมด้วยชุดสารยับยั้งของอาหารอ๊อกซฟอร์ดแสดงให้เห็นว่า การแทนที่ด้วยชุดสารยับยั้งของอาหารอ๊อกซฟอร์ดที่เหมาะสมสามารถเพิ่มความเร็วในการขยายขนาดของกลุ่มเชื้อลิสทีเรียอินโนคัวได้th_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectจลนพลศาสตร์th_TH
dc.subjectอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาภาพรวมของชุดตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของลิสทีเรียอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of rapid detection protocol to assess Listeria contamination in export for Thai food industryen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailaluck@eng.buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeListeria innocua growth and selectivity during non-selective enrichment and selective enrichment steps were studied to formulate fundamental knowledge to enhance Listeria spp. detection protocol. L. innocua was utilized as a non-pathogenic Listeria model because it shares similar physiological traits with Listeria monocytogenes. The growth of L. innocua was compared on three conventional nonselective media. (i.e., NB, LB, and TSB) and three Listeria enrichment broth bases from which selective agents were intentionally removed (i.e., BLEB, FB, and PB). The incubation conditions were varied at different temperatures (i.e., 30, 35, 37, and 40C). Sigmodial-type mathematical model was applied to capture the growth characteristics during batch cultivation and to extract key kinetic parameters (i.e., maximum specific growth rate; max) used to investigate the optimum non-selective enrichment protocol. The growth characteristics and the estimated kinetic parameters (max) indicated that the optimal incubation temperature for L. innocua growth was 35C where the growth profile showed the highest max and high final cell density. TSB, as an effective non-selective enrichment medium, was selected to multiply L. innocua in the non-selective enrichment step. The effects of conventional inhibitors were studied by using common selective inhibitors suggested in most global microbiological detection standards (i.e., NGFIS, IDF, USFDA, NMKL, ISO, AOAC, and USDA-FSIS). The TSB broth base was modified by adding selected conventional selective agents to study the growth and selectivity of Listeria spp. The growth profiles showed that acriflavine significantly affected the growth of Grampositive bacteria. Interestingly, L. innocua has less resistant to acriflavine than Staphylococcus aureus. Polymyxin B inhibited Gram-negative bacteria as well as Gram-positive bacteria but to a lesser extent. As low as 10 mg/L of Polymyxin enabled effective reduction of E. coli from 6 to less than 2 log CFU/mL within 2 h of incubation. Nalidixic acid only suppressed Gram-negative bacteria and was not as effective as Polymyxin B. Although lithium chloride did not significantly affect the inhibition of any target microorganisms, it was included in the optimization experiment to find an effective selective enrichment combination. Using the response surface analysis the optimum selective composition to isolate E. coli and S. aureus from L. innocua includes 5.7 mg/L of acriflavine, 10.0 mg/L of Polymyxin B and 20.7 g/L of lithium chloride. This new media formula was proved to isolate E. coli and S. aureus from L. innocua. For convenience in the selective agar, this study was facilitated by the use of micro-inoculation V I 8 technology in combination with the application of digital image acquisition. The scheme allowed high throughput and use of miniaturized supplies and reagents for Listeria detection. The developed protocol, applied along with an appropriate mathematical model (i.e., logistic expression), was able to contrast a wealth of meaningful kinetic parameters. The study of proper light setting improved the quality of digital image. The Oxoid Chromogenic Listeria agar (OCLA) prepared using the alternative high shear mixing and microwave pasteurization protocols resulted in enlargement of the final colony size. The logistic model showed well fit and was able to represent colony growth characteristics of both L. ivanovii and L. innocua on three common selective agar cultures (i.e., Oxford, PALCAM, and OCLA); however, the kinetics of each strain showed rather differentiable qualities. L. ivanovii grew less on the selective agar substrate than L. innocua. Variation of the inhibitor concentration from 0.25X to 2.00X strength suggested that the compromise of inhibitory effect was able to effectively promote the growth of Listeria colonies and shorten the analytical time. Replacement of the original inhibitory system by the Oxford alternative was demonstrated. A proper use of the Oxford replacement enabled an improvement of the speed of L.innocua colony expansion.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_021.pdf3.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น