กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3853
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปริมาณอินนูลินในกล้วยกลุ่ม diploid triploid และ tetraploid เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Determination of inulin content in diploid, triploid and tetraploid bananas for development of functional foods
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนี พุทธา
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: อาหารเพื่อสุขภาพ
กล้วย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
พรีไบโอติก
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: กล้วยเป็นแหล่งอินนูลินราคาถูกและรับประทานง่าย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษา ปริมาณอินนูลินของเนื้อและเปลือกของผลกล้วย 6 พันธุ์ ที่มีโครโมโซม diploid triploid และ tetraploid ได้แก่ กล้วยน้ำไท (AA) กล้วยหอมทอง (AAA) กล้วยสามเดือน (AAB) กล้วยน้ำว้า (ABB) กล้วยหิน (BBB) และกล้วยเทพรส (ABBB) ในแปลงทดลองกล้วยคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ เก็บข้อมูลจำนวนผลต่อหวี น้ำหนักสดผล (เนื้อ และเปลือก) ต่อหวี น้ำหนักเนื้อสดต่อหวี น้ำหนักเปลือกสดต่อหวี น้ำหนักสดผล (เนื้อและเปลือก) น้ำหนักเนื้อสดต่อผล น้ำหนักเปลือกสดต่อผล เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อสดต่อผล เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเปลือกสดต่อผล น้ำหนักเนื้อแห้งต่อผล น้ำหนักเปลือกแห้งต่อผล น้ำหนักเนื้อแห้งต่อน้ำหนักสด 100 กรัม น้ำหนักเปลือกแห้งต่อน้ำหนักสด 100 กรัม ปริมาณอินนูลินในเนื้อ และปริมาณอินนูลินเปลือก จากการทดลองพบว่าพันธุ์กล้วยมีผลทำให้ทุกลักษณะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01) และลักษณะจำนวนผลต่อหวีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) กล้วยหินมีจำนวนผลต่อหวี (10.0 ผล) น้ำหนักสดผล (เนื้อและเปลือก) ต่อหวี (1,952.3 กรัม) น้ำหนักเนื้อสดต่อหวี (1,034.0 กรัม) น้ำหนักเปลือกสดต่อหวี (901.3 กรัม) น้ำหนักสดผล (เนื้อและเปลือก) (188.5 กรัม) น้ำหนักเนื้อสดต่อผล (99.8 กรัม) น้ำหนักเปลือกสดต่อผล (87.0 กรัม) น้ำหนักเนื้อแห้งต่อผล (38.9 กรัม) น้ำหนักเปลือกแห้งต่อผล (13.1 กรัม) น้าหนักเนื้อแห้งต่อน้ำหนักสด 100 กรัม (39.0 กรัม) สูงที่สุด ส่วนกล้วยสามเดือนมีจำนวนผลต่อหวี (11.7 ผล) เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อสดต่อผล (62.5 เปอร์เซ็นต์) น้ำหนักเนื้อแห้งต่อน้าหนักสด 100 กรัม (35.4 กรัม) ปริมาณอินนูลินในเนื้อ (0.52เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง) และปริมาณอินนูลินเปลือก (0.75 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง) สูงที่สุด กล้วยทั้ง 6 พันธุ์มีปริมาณอินนูลินในเนื้อกล้วยอยู่ในช่วง 0.14-0.52 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง และปริมาณอินนูลินในเปลือกผลอยู่ในช่วง 0.26-0.49 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง ปริมาณอินนูลินในเนื้อมีความสัมพันธ์ทางบวกปริมาณอินนูลินในเปลือกผลกล้วย (r = 0.64) ข้อมูลจากงานวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากล้วยเป็นวัตถุดิบทางเลือกในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารสัตว์ได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3853
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_326.pdf9.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น