กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3816
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสายสมร นิยมสรวญ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned2020-03-29T09:24:07Z
dc.date.available2020-03-29T09:24:07Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3816
dc.description.abstractการศึกษาคุณสมบัติของแก้วสีเพื่อการขึ้นรูปร่วมกับพลอยคอรันดัม โดยการผสมพลอยการ์เนต พลอยเพอริดอต และเหล็กออกไซด์ ในอัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดสีในแก้ว ทำการหลอมแก้วด้วยเตาหลอมไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส ศึกษาแก้วหลังการหลอมโดยนาแก้วที่ได้ในแต่ละส่วนผสม ไปตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงสีด้วยเครื่องยูวี วิสิเบิลสเปกโทรมิเตอร์ ตรวจวัดปริมาณองค์ประกอบธาตุในแก้วด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ ศึกษาคุณสมบัติความอ่อนตัวของแก้วสี เมื่ออบด้วยเตาไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 600, 650 และ 700 องศาเซลเซียส ทดสอบอุณหภูมิการขึ้นรูปร่วมกับพลอยด้วยเตาอบไฟฟ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของแก้วที่ติดกับเศษพลอย และทดสอบการเกาะติดด้วยวิธีการตกกระแทกในระยะสูงจากพื้น 1.5 เมตร ผลการทดลอง พบว่าการเปลี่ยนแปลงสีของแก้วหลังการหลอม แก้วที่เติมพลอยการ์เนต พลอยเพอริดอต และเหล็กออกไซด์ มีสีต่างกัน เนื่องจากธาตุให้สีของพลอยแต่ละชนิดต่างกัน แก้วหลังการหลอมทุกสูตรจะมีสีเข้มขึ้นตามปริมาณของธาตุให้สีที่อยู่ในพลอยที่เติมลงไปคุณสมบัติความอ่อนตัวพบว่า แก้วที่เติมพลอยเพอริดอต และเติมเหล็กออกไซด์ มีความอ่อนตัวมาก ส่วนแก้วที่เติมพลอยการ์เนต ต้องเติมมากถึง 15 เปอร์เซ็นต์ตามน้ำหนัก จึงจะมีความอ่อนตัวใกล้เคียงกับแก้วสูตรอื่น ๆ อุณหภูมิการขึ้นรูปร่วมกับพลอยคอรันดัม พบว่า แก้วมีอุณหภูมิการทำงานได้ดีที่ 700 องศาเซลเซียส ได้แก่ แก้วที่ผสมพลอยเพอริดอต และแก้วที่ผสมเหล็กออกไซด์ ผลการการเกาะติด พบว่าแก้วที่สามารถทนการกระแทกได้ดีคือ แก้วที่เติมพลอยเพอริดอตและแก้วที่เติมเหล็กออกไซด์ การศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าแก้วที่ผสมพลอยต่างชนิดกันในอัตราส่วนที่ต่างกันมีผล ต่อการขึ้นรูปร่วมกับพลอยคอรันดัมth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีth_TH
dc.subjectเครื่องประดับth_TH
dc.subjectแก้วth_TH
dc.subjectอัญมณีth_TH
dc.subjectสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยth_TH
dc.titleการพัฒนาเครื่องประดับที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากแก้วอุณหภูมิต่ำที่ปราศจากตะกั่วth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Green Jewelry from Low-Temperature Lead-Free Glassen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsaisamor@buu.ac.thth_TH
dc.year2558th_TH
dc.description.abstractalternativeThe study focuses on the properties of colored glass for forming with gemstone by mixing with garnet peridot and iron oxide in different ratios. The glass was melt in furnace at 1,100oC. After melting, color of the glass with different mixtures was measured with UV/Visible Spectrometer. Measurement of elemental composition in the glass was done by X-ray Fluorescence Spectrometer. Softening behavior of the glass was observed after the glass being heated at 600°C, 650°C and 700°C. Forming temperature of the colored glass with corundum by electric oven was also observed. Adhesion of the glass with corundum after heated at 600oC, 650oC and 700oC was investigated by drop test from a height at 1.5 meters. The results showed that color change of the glass after mixing with different mixtures. The glass that contained garnet peridot and iron oxide had different colors, because the color elements were different. The elemental composition of the glass after melting decreased slightly. Softening behavior of the glass with garnet was less than that with peridot and iron oxide. The glass obtained a good working temperature at 700oC. All glass could withstand the impact from drop test except the glass that mixed with garnet. The glass mixed with different gemstones exhibited different effects on forming with corundum.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_345.pdf6.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น