กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3803
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์
dc.contributor.authorสมจิตต์ ปาละกาศ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2020-03-15T12:07:55Z
dc.date.available2020-03-15T12:07:55Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3803
dc.description.abstractPolyhydroxyalkanoates (PHAs) การผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตจากเชื้อ Alcaligenes latus สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลาย คือ BOT I และ BOT II ที่เลี้ยงในอาหารดัดแปลงที่เหมาะสมสําหรับกระบวนการชีวสังเคราะห์และการสะสมพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต พบวาาเชื้อ A. latus สายพันธุ์ BOT II ในอาหารสูตรดัดแปลงจาก DSMZ catalogue สามารถผลิตมวลเซลล์แห่งและปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุดเท่ากับ 5.90±0.20 และ 4.10±0.10 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 69.49 ของน้ําหนักมวลเซลล์แห่ง เมื่อใช้น้ำมันถั่วเหลืองความเข้มข้น 20 และ 60 กรัมต่อลิตรเป็นแหล่งคาร์บอนทดแทนน้ำตาลฟรุคโตส พบว่าเชื้อนี้สามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ร้อยละ 90 ของน้ำหนักเซลล์แห่ง ส่วนการเลี้ยงด้วยน้ำมันถั่วเหลือง 40 กรัมต่อลิตร แบคทีเรียสามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ร้อยละ 75 ของน้ำหนักเซลล์แห่ง ซึ่งมีค่าสูงกว่าชุดควบคุมที่ใช้ฟรุคโตส (ร้อยละ 65 ของน้ำหนักเซลล์แห่ง) ในการใช้แหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนที่เหมาะสมในอาหารดัดแปลงทั้งหมด 3 ชุด พบว่าอาหารดัดแปลงชุดที่ 3 ที่มีน้ำมันถั่วเหลืองความเข้มข้น 40 กรัมต่อลิตร ร่วมกับการใช้ผงชูรส 0.5 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตมวลเซลล์แห่งได้สูงสุด 3.47±0.15 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุด 2.63±0.06 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 75.79 ของมวลเซลล์แห่ง ในการใช้ผงชูรสเป็นแหล่งไนโตรเจนทดแทนที่ความเข้มข้นเท่ากับ 0.5, 2, 4 และ 6 กรัมต่อลิตร พบว่าการใช้ผงชูรส 2 กรัมต่อลิตร A. latus สายพันธุ์ BOT II สามารถผลิตมวลเซลล์แห่งและปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุด เท่ากับ 4.53±0.32 และ3.10±0.06 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 68.43 ของมวลเซลล์แห่ง ซึ่งมีค่าต่ำกว่าการใช้แอมโนเนียมคลอไรด์ต่อผงชูรสอัตราส่วน 0.25:2 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตมวลเซลล์แห่ง และปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ สูงสุด เท่ากับ 5.90±0.20 และ 4.10±0.10 กรัมต่อลิตร ตามลําดับ คิดเป็นร้อยละ 69.49 จากการเติมสารตั้งต้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตในรูปโคพอลิ เมอร์ของเชื้อ A. latus BOT II โดยเลี้ยงในอาหารดัดแปลงซึ่งเติมสารตั้งต้นที่มีผลต่อการสร้างโคพอลิเมอร์ 3 ชนิด คือ แกมม่า-บิวทาโรแลกโตน 1,4-บิวเทนไดออล และกรดวาเลอริก พบว่าการเลี้ยงแบคทีเรียด้วยอาหารดัดแปลงที่เติม 1,4-บิวเทนไดออล ผลิตมวลเซลล์แห่งได้สูงสุด 7.30±0.20 กรัมต่อลิตร และให้พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต ได้เท่ากับ 6.00±0.10 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 82.19 ของน้ําหนักเซลล์แห่งจากนั้นได้เลี้ยงแบคทีเรียด้วยน้ำมันต่าง ๆ ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันข้าวโพด น้ำมันทานตะวัน และน้ํามันรําข้าว เป็นแหล่งคารืบอนทดแทนร่วมกับการเติมสาร 1,4-บิวเทนไดออล พบว่าการใช้น้ำมันรําข้าวร่วมกับ 1,4-บิวเทนไดออล มีผลต่อการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตเพิ่มขึ้นเป้นร้อยละ 87.85 ของน้ำหนักเซลลืแห่ง ในขณะที่การใช้น้ำมันถั่วเหลืองและน้ํามันปาล์ม ผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้น้อยกว่า คิดเป็นร้อยละ 79 ของน้ําหนักเซลล์แห่งอย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันปาล์มซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ ร่วมกับการเติม 1,4-บิวเทนไดออลที่ความเข้มข้นต่าง ๆ คือ ร้อยละ 15, 25,50 และ 75 (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ของแหล่งคาร์บอน พบว่า การเติม 1,4-บิวเทนไดออลความเข้มข้นร้อยละ 50 สามารถผลิตมวลเซลล์แห่งและปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้สูงสุด เท่ากับ 7.10±0.20 และ5.63±0.15 กรัมต่อลิตร คิดเป็นร้อยละ 79.30 ของน้ำหนักเซลล์แห่ง ส่วนการเลี้ยงด้วยแหล่งคาร์บอนประเภทน้ำตาลร่วมกับสารตั้งต้นเพื่อการผลิตโคพอลิเมอร์ พบว่าน้ำตาลฟรุคโตสความเข้มข้น 20 และ 40 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตไดร้อยละ 83 ของน้ำหนักเซลล์แห่ง และน้ำตาลเด็กซ์โตรสความเข้มข้น 20 และ 40 กรัมต่อลิตร สามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตได้ร้อยละ 81 ของน้ำหนักเซลล์แห่งการศึกษาการสกัด สําหรับวิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตในรูปของกรดโครโตนิก 4 วิธีได้แก่ วิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยวิธีคลอโรฟอร์ม วิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยไฮโปคลอไรท็ร่วมกับคลอโรฟอร์ม วิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยไฮโปคลอไรท์ และวิธีการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยไฮโปคลอไรท์ที่อุณหภูมิและเวลาแตกต่างกัน พบวาาการสกัดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตด้วยวิธีไฮโปรคลอไรท์ที่อุณหภูมิและเวลาแตกต่างกัน .ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ได้ปริมาณพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตสูงสุด เท่ากับ 3.22±0.03 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในการศีกษาเพื่อพัฒนาวิธีการสกัดพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต โดยการใช้การสกัดด้วยคลอโรฟอรืม ไฮโปคลอไรท์ และไฮโปคลอไรท์ร่วมกับคลอโรฟอรืม การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการย่อยด้วยกรดซัลฟูริก เพื่อการวิเคราะห์ปริมาณของพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตในรูปของกรดโครโตนิกของเชื้อ A. latus BOT II พบว่า การสกัดด้วยไฮโปคลอไรท์ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาทีและใช้อัตราส่วนกรดซัลฟูริกต่อตัวอย่าง 1: 1 เป็นวิธีการที่เหมาะสมโดยใช้ให้ปริมาณพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต เท่ากับ 171.81 ± 3.34 มิลลิกรัมต่อลิตรth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านทางสํานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพลาสติก -- การผลิตth_TH
dc.titleการเพิ่มศักยภาพการผลิตพลาสติกชีวภาพกลุ่มพอลีไฮดรอกซี อัลคาโนเอตในรูปโฮโมพอลิเมอร์และโคพอลิเมอร์จากแบคทีเรีย Alcaligenes latus ที่คัดเลือกจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailkrongchan@buu.ac.thth_TH
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeProduction of polyhydroxyalkanoates (PHAs) by wild type and 2 mutant strains (BOT I and BOT II) of Alcaligenes latus cultured in modified medium for biosynthesis and accumulation of PHAs have been investigated. The results revealed that BOT II strain of A. latus cultured medium modified from DSMZ catalogue exhibited highest cell dried weight of 5.90±0.20 g/L and highest PHAs of 4.10±0.10 g/L (69.49% of cell dried weight). When soy bean oil was used as carbon instead of fructose, BOT II accumulated higher PHAs than that of control in the presence of fructose (75% of cell dried weight). The culture in the presence of soy bean oil of 20 and 60 g/L gave PHAs with the values of 90% of cell dried weight. While the culture in the presence of 40% soy bean oil accumulated PHAs at 75% of cell dried weight. Furthermore, modified medium containing 40 g/L of soy bean oil and 0.5 g/L of monosodium glutamate produced highest cell dried weight and PHAs of 3.47±0.15 g/ L and 2.63±0.06 g/L (75.79% of cell dried weight), respectively. When monosodium glutamate (MG) was used as nitrogen source, culture of A. latus BOT II in the presence of 2 g/ L MG exhibited highest cell dried weight and PHAs of 4.53±0.32 and 3.10±0.06 g/L (68.43% of cell dried weight), respectively. Production of cell dried weight and PHAs in the presence of MG alone was lower than that culture in the presence of ammonium chloride and MG (0.25:2 g/L) which produced highest cell dried weight and PHAs of 5.90±0.20 and 4.10±0.10 g/ L (69.49% of cell dried weight), respectively. In order to enhance production capability of PHAs co-polymer form by A. latus BOT II, each of 3 precursors was added to culture media including gamma-butyrolactone, 1,4- butanediol and valeric acid. A. latus BOT II culture in modified medium containing 1,4- butanediol gave highest cell dried weight (7.30±0.20 g/L) and PHAs of 6.00±0.10 g/L (82.19% of cell dried weight). Subsequently, various types of oil were used as carbon sources (soy bean oil, palm oil, Mazola oil, sunflower seed oil and rice bran oil. Bacteria cultured in the presence of rice bran oil and 1,4-butanediol increased PHAs accumulation (87.85% of cell dried weight). While that cultured in the presence of soy bean oil as well as palm oil accumulated lower PHAs (79% of cell dried weight). However, using palm oil, the lowest cost oil, in various concentration of 1,4-butanediol (15-75% w/v) as carbon source was explored. The result revealed that adding 50% of various 1,4-butanediol produced highest cell dried weight and PHAs of 7.10±0.20 and 5.63±0.15 g/L (79.30% of cell dried weight). Moreover, cultured in media containing each of various sugars and precursor for co-polymer production was also investigated. It was found that that cultured in the presence of 20 and 40 g/ L of fructose as well as dextrose accumulated PHAs at 83% and 81% of cell dried weight, respectively. Four PHAs extraction methods in form of crotonic acid have been investigated including chloroform extraction, hypochlorite extraction, co-extraction of hypochlorite and chloroform, and hypochlorite extraction. Hypochlorite extraction at different temperature and time (30C during 10 min) gave highest PHAs content of 3.22±0.03 mg/mL. PHAs extraction using chloroform, hypochlorite and co-extraction of hypochlorite and chloroform as well as digestion in optimum ratio of sulfuric acid to sample were also investigated. It was found that hypochlorite extraction at 30C during 20 min in the presence of sulfuric acid (1:1 of sulfuric acid to sample) gave the most satisfied result. It gave PHAs of 171.81 ± 3.34 mg/mL.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_293.pdf11.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น