กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3795
ชื่อเรื่อง: ชนิดและความหลากหลายทางพันธุกรรมของสาหร่ายซูแซนเทลลีในแนวปะการังชายฝั่งภาคตะวันออกและความจำเพาะของเจ้าบ้าน-ชนิดของสาหร่ายที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Genetic diversification of coral endosymbionts in the genus Symbiodinium from coral reefs in eastern part of Thailand and hostsymbiont specificity influenced by environmental conditions
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี
วันศุกร์ เสนานาญ
อรอง จันทร์ประสาทสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปะการัง
สาหร่าย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สาหร่ายซูแซนเทลลีในวงศ์ Symbiodiniaceae มีบทบาทสำคัญในการปรับตัวของปะการังให้ เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของสาหร่ายซูแซนเทลลีในปะการังจากแนวปะการังในจังหวัดชลบุรีและระยอง จำนวน 11 วงศ์ 21 สกุล เพื่อจำแนกชนิด ของสาหร่ายซูแซนเทลลี โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง ITS2 ที่แยกด้วยเทคนิค Denaturing Gradient Gel Electrophoresis (DGGE) และพบลายพิมพ์ดีเอ็นเออย่างน้อยจำนวน 7 แบบ (ลำดับ นิวคลีโอไดท์ 12 แฮพโพลไทป์) ประกอบไปด้วยสกุล Durusdinium (6 แฮพโพลไทป์) และ Cladocopium (6 แฮพโพลไทป์) องค์ประกอบของสาหร่ายซูแซนเทลลีมีความผันแปรขึ้นอยู่กับชนิด ของปะการังเจ้าบ้าน และสถานีที่ศึกษาโดย Durusdinium spp. (D1) พบได้มากที่สุดในปะการัง ทุกชนิด และทุกสถานีในแนวปะการังจังหวัดชลบุรีและระยอง Cladocopium sp. (C15) ค่อนข้าง เฉพาะเจาะจงกับปะการัง Porites แต่ยังพบได้บ้างในปะการัง Platygyra Goniastrea และ Pocillopora ด้วย Durusdinium sp. (D1-6) ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับปะการัง Pocillopora ในขณะที่ปะการัง Platygyra ในสถานีหมู่เกาะแสมสารพบ Cladocopium sp. (C3u) เป็นองค์ประกอบ หลักซึ่งแตกต่างจากสถานีหินเพิง และหมู่เกาะสีชังที่พบ Durusdinium spp. (D1) เป็นองค์ประกอบหลัก ผลดังกล่าวสะท้อนความสำคัญของการปรับตัวร่วมกันของเจ้าบ้านและสาหร่าย กับสภาพแวดล้อม จาก การศึกษาครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นความซับซ้อนของธรรมชาติและการจำแนกชนิดของสาหร่ายซูแซนเทลลี โดยเฉพาะชนิดที่มีความใกล้ชิดกันมากๆในสกุล Durusdinium โดยเฉพาะ D. trenchii และ D. glynnii จะต้องใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรมที่มีความไวสูงขึ้น เช่น psb A ncr และ microsatellite loci นอกจากนี้การวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยี high throughput sequencing ยังอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชนิดสาหร่ายซูแซนเทลลี่ที่มีความชุกชุมต่ำ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3795
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_290.pdf3.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น