กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3784
ชื่อเรื่อง: นิเวศวิทยา พฤติกรรม และการประเมินสถานภาพของสัตว์น้ำท้องถิ่นเพื่อจัดทำรายการบัญชีแดง กรณีศึกษาในหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง (Pila spp.) ที่ถูกรุกรานโดยหอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ในพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Ecology, behavior and status assessment of native aquatic animals to provide on the IUCN red list: a case study between native apple snails (Pila spp.) and invasive apple snails (Pomacea canaliculata) in Wetlands, Chanthaburi Provinceค
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทิมา ปิยะพงษ์
สยาม อรุณศรีมรกต
เบญจวรรณ ชิวปรีชา
รัชดา ไชยเจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: นิเวศวิทยา
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในประเทศไทยและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หอยโข่ง (Pila pesmei) ชนิดพันธุ์พื้นเมืองมีจำนวนลดลงโดย Enemy Release Hypothesis (ERH) ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นประสบความสำเร็จในการแพร่กระจายและมีความชุกชุมในพื้นที่อาศัยต่างถิ่นในฐานะผู้รุกราน เนื่องจากไม่ได้ถูกควบคุมโดยศัตรูธรรมชาติในพื้นที่ส่งผลให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมีโอกาสอยู่รอดที่สูงกว่าชนิดพันธุ์พื้นเมืองเพื่อเป็นการทดสอบ ERH งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการกินพืชอาหาร จำนวน 2 ชนิด ที่มีอันดับอนุกรมวิธานในวงศ์เดียวกันคือผักตบชวา (Eichhornia crassipes) ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานและผักตบไทย (Monochoria hastata) ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์พื้นเมืองเปรียบเทียบระหว่างหอยเชอรี่และหอยโข่งผลการวิจัยพบว่าหอยเชอรี่เลือกกินผักตบชวา (83.45±33.91%) และผักตบไทย (85.75±29.31%) มากกว่าหอยโข่ง (8.62±13.02% และ 8.70±15.65% ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p< 0.05) ซึ่งผลการศึกษานี้ไม่เป็นไปตาม ERH เนื่องจากหอยโข่งเลือกกินพืชอาหารทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3784
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_279.pdf684.25 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น