กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3765
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorทรงกลด สารภูษิต
dc.contributor.authorพรพิมล รงค์นพรัตน์
dc.contributor.authorเอกรัฐ ศรีสุข
dc.contributor.authorปณิดา ดวงแก้ว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned2020-02-05T09:12:27Z
dc.date.available2020-02-05T09:12:27Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3765
dc.description.abstractโรคทางระบบประสาทเช่น โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้นและโรควิตกกังวลรวมไปถึงโรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่พบมากขึ้นในปัจจุบัน โดยหนึ่งในสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของอุบัติการณ์โรคเหล่านี้เกิดจากการทำงานของเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (monoamine oxidase : MAO) ทั้ง 2 isoform คือ MAO-A และ MAO-B การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเปรียบเทียบผลการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MAO จากสมองหมู (Sus domesticus) กับเอนไซม์ MAO จากมนุษย์ ทำการค้นหาสารสำคัญในพืชสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เอนไซม์ MAO และศึกษากลไกในการยับยั้งเอนไซม์ MAO รวมถึงเอนไซม์ CYP2A6 ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายนิโคตินและการเสพติดบุหรี่ ผลการศึกษาพบว่าเอนไซม์ MAO จากสมองหมูสามารถนำมาใช้ในการทดสอบเบื้องต้นถึงฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MAO ได้ โดยมีค่าประสิทธิภาพในการยับยั้งแตกต่างจากค่า MAO ของมนุษย์ อย่างไรก็ดีวิธีในการตรวจสอบส่งผลต่อประสิทธิภาพในการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO ด้วยเช่นกัน โดยควรใช้สารตั้งต้นเรืองแสง kynuramine แทนที่วิธีการมาตรฐานที่ใช้การปฏิกิริยา coupling assay ของสารตรวจสอบ ABTS และเอนไซม์ HRP เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งโดยวิธี Bio-assay guide isolation ผู้วิจัยได้สารสำคัญ 1 ชนิด (Rheum1) จากสมุนไพรโกฐน้ำเต้าที่ยัง ไม่สามารถระบุโครงสร้างได้ และสารสำคัญ 3 ชนิด (Rhinacanthin-A,-B, และ –C) จากสมุนไพรทองพันชั่ง โดยสารสำคัญ Rheum1 ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO-B ได้ดีที่สุดด้วยค่า IC50 3.48 μM และสาร Rhinacanthin-B ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO-A ได้ดีที่สุดด้วยค่า IC50 17.21 μM โดยสารทั้งสองออกฤทธิ์ยับยั้งแบบผันกลับได้ เมื่อนำมาศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 พบว่าสารสาคัญ Rheum1 ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP2A6 ด้วยค่า IC50 19.12 μM ซึ่งมากกว่า Rhinacanthin-A ที่เคยมีรายงานว่ายับยั้งการทำงานของ CYP2A6 ด้วยค่า IC50 1.88 μM (Pouyfung et al., 2014) ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสารสำคัญที่ได้ สามารถออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ได้ถึง 3 เอนไซม์ และเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ลด หรือป้องกันโรคทางสมองหรือลดการสูบบุหรี่จากสมุนไพรไทยต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพืชสมุนไพรไทยth_TH
dc.subjectโรคทางสมองth_TH
dc.subjectการติดบุหรี่th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการพัฒนาระบบตรวจสอบสารยับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดสในพืชสมุนไพรไทยเพื่อใช้ป้องกันโรคทางสมองและบาบัดอาการติดบุหรี่th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of inhibition assays for screening Thai medicinal plants against monoamine oxidases, pharmacotherapeutic target enzymes of neurological disorders and tobacco dependenceen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsongklod@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailscprn@mahidol.ac.thth_TH
dc.author.emailekaruth@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailpanida.d@su.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeNowadays, the number of patients from many neurological disease, such as Depression, Attention Deficit disorder, and Anxiety including Parkinson's disease Disorders have been increasing. Monoamine Oxidase (MAO) in both forms; MAO-A and MAO-B, have been report as an important mechanism of these neurological diseases development. This study aims to develop an assay method by comparing the inhibitory activity of medicinal plants against pig (Sus domesticus) brain MAOs enzymes and human MAOs enzymes. The plant constituents that could potently inhbit MAOs enzymes were selected, purified and characterized. The inhibitory activity against MAOs enzymes and CYP2A6 enzyme, the nicotine metabolizing enzyme, were investigated. Although species different did affect the inhibitory potency, pig brain MAO can be used as a preliminary step for MAO inhibitor screening. The difference in inhibitory constant values suggested that the kynuramine fluorescence substrate was more reliable and suitable for MAO inhibition assay compared to an indirect standard coupling assay using ABTS and HRP enzymes. Rheum1 and Rhinacanthin-A,-B, and-C were successfully isolated and purified by bio-assay guide isolation from Rheum officinale and Rhinacanthus nasutus, respectively. With reversible mode of inhibition, Rheum1 was the potent MAO-B inhibitor with an IC50 value of 3.48 μM while Rhinacanthin-B was the potent MAO-A inhibitor (IC50 of 17.21 μM). In addition, Rheum1 could reversibly inhbit CYP2A6 activity with an IC50 value of 19.12 μM. However, Rhinacanthin has been reported its potency as an irreversible CYP2A6 inhibitor by Pouyfung et al., 2014. Rhinacanthin-A was the best CYP2A6 inhibitor with IC50 1.88 μM. These results suggested that all isolated constituents could efficiently inhibited MAO-A, MAO-B, and CYP2A6 enzymes and could be apply for either food supplement for prevention of neurological diseases or smoking cessation.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_257.pdf1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น