กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3750
ชื่อเรื่อง: การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Therapeutic Sculpture for Children with Special Child
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตฤณ กิตติการอำพล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลงานประติมากรรมในการพัฒนาการทรงตัว พัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างตากับมือ โดยใช้กระบวนการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) แบบ The Exploratory Sequential Design โดยใช้แผนวิจัยแบบบูรณาการ เป็นวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ทัศนศิลป์ (Practice led Research) และการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยควบคู่กันไป ผู้วิจัยในฐานะเป็น ประติมากรมีความสนใจที่จะศึกษาพัฒนาผลงานประติมากรรม โดยอาศัยหลักการทฤษฎีจาก กระบวนการด้านกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) ศิลปะแบบไคเนติก (Kinetic Art) นำมา บูรณาการให้ได้ผลงานประติมากรรมที่สามารถเป็นทางเลือกในการบำบัดเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาและการค้นคว้า ระยะที่ 2 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ พบว่า ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการ พิเศษที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และทางทัศนศิลป์ พบว่า การบำบัดสอดคล้องในการพัฒนาระบบทรงตัว การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ และด้าน ความงามสามารถแสดงถึงความเป็นเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ มีการพัฒนา จากผลงานเดิมได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการใช้รูปร่าง รูปทรง เส้น พื้นผิว มวล ปริมาตร พื้นที่ว่าง รวมไปถึง การจัดองค์ประกอบมีความกลมกลืน สมดุล และมีความเป็นเอกภาพกับพื้นที่ได้อย่าง เหมาะสม ระยะที่ 3 การทดลองทดสอบผลการใช้ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ ผลงานที่พัฒนาขึ้นมาเป็นลักษณะผลงานประติมากรรมที่ประกอบด้วยเครื่องมือที่เป็น กิจกรรมการปฏิบัติที่สอดคล้องช่วยส่งเสริมในการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญ และจากการทดสอบทางด้านกายภาพ ระยะเวลาทำการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน การ ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบค่ามัธยฐาน พิสัยควอไทล์ The Sign Test for Median: One Sample แบบสมมุติฐานนอนพาราเมติก The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีการบูรณาการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดและความงาม อยู่ในระดับดีมาก 2. ความสามารถในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก และการกระตุ้นระบบประสาท สัมผัสทางกาย มีประสิทธิผล ดังนี้ 2.1 เด็กที่มีความต้องการพิเศษมีความสามารถในการทรงตัวสูงขึ้น หลังจากใช้ ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ สูงขึ้น หลังจากใช้ประติมากรรมเพื่อการบำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3750
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_249.pdf8.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น