กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3747
ชื่อเรื่อง: ความชุกของภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดธาตุเหล็กและธาลัสซีเมียในกลุ่มผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prevalence of anemia, iron deficiency and thalassemia among elder population
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สานิตา สิงห์สนั่น
จิราพร จรอนันต์
นัฐพล ประกอบแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: โรคโลหิตจาง
ผู้สูงอายุ
โรคธาลัสซีเมีย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ที่มาและความสำคัญ: โลหิตจางเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุและมีความชุกสูงในทุกภูมิภาคของประเทศไทย สาเหตุของภาวะโลหิตจางใน ผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย คือโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางจากโรคเรื้อรัง อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่มีความชุกของธาลัสซีเมียข้อมูลความชุกของ ภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุยังคงมีน้อย วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และโลหิตจางจากธาลัสซีเมีย และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจาง ในผู้สูงอายุภาคตะวันออกของประเทศไทย วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน ที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจสอบพารามิเตอร์ของเซลล์เม็ดเลือดแดงโปรตีน C-reactive ซีรัมเฟอร์ริติน ชนิดของฮีโมโกบิน (Hb typing) และตรวจวิเคราะห์ยีนแฝงธาลัสซีเมีย ผลการศึกษา: ผลการศึกษาในผู้สูงอายุ จำนวน 370 คน จำแนกเป็นเพศชาย จำนวน 78 คน (21.08%) และเพศหญิง จำนวน 292 คน (78.92%) ประเมินภาวะโลหิตจางตามเกณฑ์วินิจฉัยของ WHO พบว่ามีผู้สูงอายุ จำนวน 131 คน (35.41%) มีภาวะโลหิตจาง โดยพบว่า 43.55% เป็นผู้สูงอายุเพศชาย และ 33.22% เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง เมื่อพิจารณาตามอายุพบว่า ภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้นจาก 32.17%, 36.61% ถึง 57.14% ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี, 70-79 ปีและ > 80 ปีตามลำดับ ศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบในผู้สูงอายุ พบว่ามีภาวะโลหิตจางจากธาตุเหล็ก 3.05%, ธาลัสซีเมีย 25.95%, ภาวะโลหิตจางจากโรคเรื้อรัง 17.56% และภาวะโลหิตจางที่ไม่ทราบสาเหตุ 35.11% นอกจากนี้ยังพบปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะโลหิตจางถึง 18.32% สรุป: การศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกรวมถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโลหิตจางและลักษณะทางโลหิตวิทยา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมและดูแลผู้สูงอายุโลหิตจาง อย่างเหมาะสมต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3747
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_243.pdf685.72 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น