กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3744
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดที่ติดกับประเทศกัมพูชา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The conservation and Increase Value of local Rice in Provinces regions border with Cambodia
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประทีป อูปแก้ว
วิชุดา จันทร์ข้างแรม
รังสรรค์ เจริญสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ข้าวพื้นเมือง
สารต้านอนุมูลอิสระ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: ข้าวพื้นเมืองเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูง แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ทนแล้ง ทนต่อโรคและแมลง เป็นต้น การปลูกข้าวพื้นเมืองพบในพื้นที่ของจังหวัดที่มีติดกับประเทศกัมพูชา แต่ปัจจุบันข้าวพื้นเมืองมีการปลูกน้อยลงและมีการนำข้าวพันธุ์ปรับปรุงมาปลูกแทน ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม่ให้สูญหายและเพิ่มมูลค่าทางการตลาด โดยการวิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจำนวน 101 ตัวอย่าง มาจากเกษตรกรในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ และอานาจเจริญ โดยได้ทำการประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตเบื้องต้นได้ข้าวพื้นเมืองจำนวน 19 ตัวอย่าง การทดลองที่ 1 ได้ประเมินองค์ประกอบผลผลิต ผลผลิต การเข้าทำลายแมลงและโรคศัตรูข้าวใน 5 พื้นที่คือมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี โดยทดสอบข้าวพื้นเมืองจำนวน 19 ตัวอย่างและพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 2 พันธุ์คือขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 การทดลองที่ 2 ประเมินคุณค่าทางโภชนะในเมล็ดข้าวกล้องจากผลผลิตเมล็ดข้าวของตัวอย่างข้าวพื้นเมืองและพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานที่ทดสอบในพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว มาวิเคราะห์ค่าความชื้น เถ้า เยื่อใย ไขมัน และโปรตีน การทดลองที่ 3 ประเมินปริมาณสารประกอบฟีนอล สารแอนตีออกซิแดนซ์ และสารแอนโทไซยานิน ในเมล็ดข้าวกล้องพื้นเมือง ผลการทดลองพบว่าข้าวพื้นเมืองจานวน 19 ตัวอย่างและพันธุ์เปรียบเทียบมาตฐาน 2 พันธุ์มีความแปรปรวนของลักษณะของความสูง จานวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ และผลผลิตต่อไร่ใน 5 พื้นที่ทดสอบ ส่วนการเข้าทำลายของแมลงและโรคศัตรูข้าวในข้าวพื้นเมืองไม่มีผลต่อผลผลิต แมลงศัตรูข้าวพบ 3 ชนิด คือตั๊กแตน หนอนกอ และหนอนห่อใบข้าว ส่วนโรคศัตรูพบ 2 ชนิดคือโรคใบจุดสีน้ำตาลและใบไหม้ ข้าวพื้นเมืองพบความแตกต่างของคุณค่าทางโภชนะของค่าเถ้า เยื่อใย ไขมัน โปรตีน โดยตัวอย่างข้าวที่มีค่าเถ้ามากสุดคือ BUUUB2 ค่าเยื่อใยมากสุดคือ BUUSK47 ค่าไขมันสูงสุดคือ BUUSK48 ค่าโปรตีนสูงสุดคือ BUUSK28 นอกจากนี้ข้าวพื้นเมืองมีความแตกต่างของสารประกอบฟีนอล สารแอนตีออกซิแดนซ์ และสารแอนโทไซยานิน ค่าสารประกอบฟีนอลสูงสุดคือ BUUSK33 และ BUUUB8 ค่าสารแอนตีออกซิแดนซ์สูงสุดคือ BUUSK33 และค่าสารแอนโทไซยานินสูงสุดคือ BUUSK48 และ BUUBR8 จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าตัวอย่างข้าวพื้นเมือง 19 ตัวอย่างของเกษตรกร ในพื้นที่ 6 จังหวัด มีความแปรปรวนของพันธุกรรมทำให้องค์ประกอบผลผลิต ผลผลิต คุณค่าทางโภชนะ และสารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน ดังนั้นการอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองต้องมีการเพิ่มมูลค่าด้านการตลาด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3744
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_237.pdf2.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น