กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3719
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุทิน กิ่งทอง
dc.contributor.authorจันทรกานต์ ศรีสมทรัพย์
dc.contributor.authorดารณี โชคชัยชำนาญกิจ
dc.date.accessioned2019-12-24T07:23:02Z
dc.date.available2019-12-24T07:23:02Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3719
dc.description.abstractหอยนางรมปากจีบชนิด Saccostrea cucullata เป็นหอยเศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงแบบล่อตัวอ่อนจากธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการใช้ระบบการเพาะเลี้ยงแบบผสมเทียมตัวอ่อนหอยนางรมในหลายประเทศ โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากพ่อแม่พันธุ์ ในการเก็บตัวอย่างนั้นทำได้ทั้งแบบกรีดเอาเซลล์สืบพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์หรือกระกระตุ้นให้พ่อแม่พันธุ์ปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมา อย่างไรก็ดีการผสมเทียมอาจมีความเสียงต่อการประสบปัญหาเรื่องคุณภาพของตัวอ่อน ซึ่งเกิดได้จากความสมบูรณ์พันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์และคุณภาพน้ำเชื่อ ซึ่งกลไกดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน โครงการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุเพื่อศึกษาโครงสร้างของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรืออสุจิของหอยนางนมปากจีบในระดับจุลกายวิภาค และศึกษาโปรตีโอมหรือโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์อสุจิในหอยนางรมปากจีบเพื่อต้องการระบุโปรตีนทั้งหมดที่พบในเซลล์อสุจิ โดยเก็บตัวอย่างเซลล์อสุจิจากหอยนางรมเพศผู้สองวิธี ทั้งแบบกรีดเอาเซลล์สืบพันธุ์และแบบกระกระตุ้นให้ปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมา จากนั้นนำมาสกัดโปรตีนเพื่อศึกษา ด้วยเทคนิคโปรตีโอมิกส์ โดยทำการแยกโปรตีนในเจลสองมิติ ทำการตัดจุดโปรตีน ย่อยด้วยเอนไซม์ทริปซิน และระบุชนิดด้วย LC-MS/MS ร่วมกับชีวสารสนเทศศาสตร์ ผลการศึกษาจุลกายวิภาคพบว่าเซลล์อสุจิของ หอยนางรมปากจีบประกอบด้วยอะโครโซมทางด้านหน้าและพบ subacosomal space ขนาดใหญ่ นิวเคลียส ค่อยข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดประมาณ 1.8 µm ส่วนคอพบไมโทคอนเดรียขนาดใหญ่ 4 อัน ส่วนหาง มีโครงสร้าง axoneme แบบ 9+2 ผลการศึกษาโปรตีโอมพบว่าสามารถระบุโปรตีนได้ 188 จุด จาก 206 จุด (91.26%) แบ่งเป็นโปรตีนกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มที่พบใน acrosome, endoplasmic reticulum, Golgi apparatus, nucleus, cytoplasm, mitochondria, cytoskeleton and flagellum และ extra cellular region และได้สร้างแผนที่อ้างอิงโปรตีนขึ้นมาสำหรับโปรตีนที่พบในเซลล์อสุจิของหอยนางรมปากจีบ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบเชิงโปรตีนและหน้าที่ของโปรตีนในเซลล์ อสุจิของหอยนางรมเป็นอย่างมาก และยังสามารถระบุโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเซลล์อสุจิและคุณภาพ ของเซลล์อสุจิอีกด้วย นอกจากนี้ยังจะเป็นประโยชน์ ต่อการประยุกต์ใช้ในการระบุคุณภาพน้ำเชื้อ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การเก็บเซลล์สืบพันธุ์ เพื่อใช้สำหรับการปฏิสนธิ เพื่อพัฒนาระบบเพาะเลี้ยงตัวอ่อนหอยนางรมต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณ แผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectหอยนางรมปากจีบth_TH
dc.subjectหอยนางรมปากจีบ - - น้ำเชื้อth_TH
dc.subjectหอยนางรมปากจีบ - - จุลกายวิภาคศาสตร์th_TH
dc.subjectเซลล์สืบพันธุ์th_TH
dc.titleโครงสร้างจุลกายวิภาคของการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และการวิเคราะห์โปรทีโอมของอสุจิในหอยนางรมปากจีบ (ปีที่ 2)th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe Hooded oyster, Saccostrea cucullata is economically important animal and has been cultured in Thailand. Recently, artificial fertilizations are being used in oyster cultures in many countries by either stripping or spawning methods in order to collect gametes from brood stocks. However, reproductive success and embryo quality of hatcheries remains inconsistent. This may due to gamete maturation and quality of sperm in this species are not well addressed. Thus, the purposes of this research project were to study untrastrcuture of the Hooded sperm and to analyze sperm proteome of the Hooded oyster in order to reveal protein profile and identify all proteins found in oyster sperm. Sperms were collected from male oysters by spawning and stripping method. Sperm proteins were extracted and separated in two dimensional gel electrophoresis. Proteins in gel were cut, digested with trypsin and identified by using a LC-MS/MS and bioinformatics analysis. The ultrastucture results showed that sperm of the Hooded oyster composed of anteriorly acrosome with a large subacrosomal space. The nucleus is dense and round whith 1.8 µm in diameter. Foure larg mitochondria were found at the middle part of sperm. At the posterior side, long flagellum with 9+2 microtubules axoneme were obsereved. The proteome results showed that 188 out of 206 protein spots were identified (91.26%) in sperm. These classified as acrosome, endoplasmic reticulum, Golgi apparatus, nucleus, cytoplasm, mitochondria, cytoskeleton and flagellum and extra cellular region. Reference map of sperm proteome was also constructed for this species. The results obtained from this work improve current understanding of sperm protein component and function in this species and help us identify proteins associated to sperm maturity and quality. Additionally, knowledge of sperm quality would be applied to brood stock conditioning, gamete collection and artificial fertilization in order to improve hatchery system for this species.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_213.pdf4.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น