กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3713
ชื่อเรื่อง: ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดเอทานอลจากข้าวสีต่าง ๆ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Antioxidant capacity and inhibitory effect on lipid peroxidation of different pigmented rice ethanol extracts
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัชวิน เพชรเลิศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: เอทานอล
การต้านอนุมูลอิสระ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านลิพิดเปอร์ออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดเอทา นอลจากข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอหรือข้าวเหนียวดำในน้ำมันถั่วเหลือง ด้วยการทดสอบ thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) การกำจัดอนุมูล DPPH และความสามารถในการรีดิวซ์เหล็ก (FRAP assay) นอกจากนี้ยังทำการตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ปริมาณฟลาโว นอยด์รวม และปริมาณแอนโธไซยานิน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ข้าวก่ำดอยมูเซอมีปริมาณสารประกอบฟีนอล ปริมาณฟลาโวนอยด์และปริมาณแอนโธไซยานินสูงที่สุด (45.48±0.07 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิก ต่อกรัมของสารสกัด, 323.08±0.50 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของสารสกัด และ 1908.01±5.79 มิลลิกรัมของไซยานินดิน-3-กลูโคไซด์ต่อกรัมของสารสกัด ตามลำดับ) สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ข้าวก่ำดอยมูเซอมีฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH และมีความสามารถในการให้อิเล็กตรอนกับเหล็กได้ดี ที่สุด โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 0.23±0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า FRAP เท่ากับ 32.03±0.001 มิลลิกรัม สมมูลเฟอร์รัสซัลเฟต/กรัมของส่วนสกัด ตามลำดับ นอกจากนี้แล้วสารสกัดเอทานอลจากข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอที่ความเข้มข้นต่าง ๆ (0.001, 0.01, 0.1 และ 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) สามารถยับยั้งลิพิดเปอร์ออกซิเดชันได้ทั้งแบบที่เติมสารสกัดบ่มพร้อมกับน้ ามันตั้งแต่เริ่มทำปฏิกิริยา (48 ชั่วโมง) และเมื่อเติมสารสกัดลงในน้ำมันหลังจากทำปฏิกิริยา (48 ชั่วโมง) สำหรับการทดสอบ TBARS พบว่า เปอร์เซ็นต์การยับยั้งของข้าวกล้องหอมนิลที่ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมีถึง 67.79% สรุปว่าสาร สกัดเอทานอลจากข้าวกล้อง หอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอ สามารถยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ ออกซิเดชันในปฏิกิริยาขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิได้ และงานวิจัยนี้สามารถ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ใน อุตสาหกรรมอาหารได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3713
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_207.pdf704.26 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น