กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3707
ชื่อเรื่อง: โครงการการศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำผึ้งชันโรงในแหล่งต่าง ๆ และ การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of physical and chemical characteristic of stingless bees honey in different locations and product development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิภาวรรณ มาชะนา
กาญจนา ธรรมนู
ยศนันท์ วีระพล
สุมิตร คุณเจตน์
บุญดิศย์ วงศ์ศักดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำผึ้งชันโรง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของน้ำผึ้งชันโรง (Tetrtagona pagdeni) ในแหล่งต่าง ๆ ทั้ง 5 แหล่ง ได้แก่ ป่าชายเลน สวนผลไม้ สวนสมุนไพร นาข้าวระบบเปิด และนาข้าวระบบปิด โดยจากการศึกษาลักษณะของสีน้ำผึ้งที่เก็บจากแหล่งต่าง ๆ สังเกตสีที่ต่างกัน ซึ่งสีของน้ำผึ้งชันโรงที่เก็บจากนาข้าวระบบปิดมีสีเหลืองใสกว่าน้ำผึ้งจากแหล่งอื่น ๆ ส่วนน้ำผึ้งชันโรงที่เก็บจากป่าชายเลนและสวนผลไม้มีสีน้ำตาลเข้ม โดยจากการศึกษาพบว่าสีน้ำตาลของน้ำผึ้งมีความสอดคล้องกับปริมาณสารฟีนอลลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์ปริมาณสาร 5-ไฮดรอกซีเมทิล-2- เฟอร์ฟิวราลดีไฮด์ (HMF) และน้ำตาลในน้าผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบของเหลวแรงดันสูง (HPLC) พบว่าสาร HMF ในน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งมีปริมาณไม่เกินมาตรฐานกาหนด ซึ่งอยู่ในช่วง 0.12-0.38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และจากการวิเคราะห์พบว่ามี ปริมาณน้ำตาลที่พบในน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และมอลโตส โดยจากการวิเคราะห์ไม่พบน้ำตาลซูโครสในน้ำผึ้งชันโรง นอกจากนี้ในการวิเคราะห์สเปกตรัมของน้ำผึ้งด้วยเทคนิค FTIR และ FT-RAM spectroscopy เพื่อแยกความแตกต่างของน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่งด้วยการวิเคราะห์ PCA analysis พบว่าน้ำผึ้งชันโรงมีลายพิมพ์นิ้วมือที่แตกต่างกันในช่วง 1500-900 cm-1 ซึ่งสอดคล้องกับช่วงของน้ำตาล โดย น้ำผึ้งชันโรงมีความแตกต่างกันตั้งแต่ PC 1 ที่ 58 % เมื่อวิเคราะห์ด้วย FTIR spectroscopy และที่ 52% เมื่อวิเคราะห์ด้วย FT-RAMAN spectroscopy ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าทั้งเทคนิค FTIR และ FT-RAM spectroscopy เป็นเทคนิคที่สามารถใช้แยกความแตกต่างของน้ำผึ้งชันโรงที่แตกต่างกันได้อย่างรวดเร็วและ ประหยัดขั้นตอนในการวิเคราะห์ยิ่งไปกว่านี้การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์สารประกอบฟีนอลลิกและสารประกอบฟลาโวนอยด์ในน้ำผึ้งชันโรงจากทั้ง 5 แหล่ง ซึ่งพบว่าน้ำผึ้งชันโรงจากป่าชายเลนมีปริมาณสารฟีนอลลิกและฟลาโวนอยด์มากที่สุดที่ 2.66 g GAE/100 g ของน้ำผึ้ง และ 0.99 g QAE/ 100 g ของน้ำผึ้ง ตามลำดับ โดยจากการศึกษาพบว่าปริมาณ สารฟีนอลลิกและฟลาโวนอยด์ในน้ำผึ้งชันโรงสอดคล้องกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยพบว่าน้ำผึ้งชันโรงที่ 1000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระที่ช่วง 75.88-87.53 % (ด้วยวิธี DPPH) และ 80.68 – 88.20% (ด้วยวิธี ABTS) โดยน้ำผึ้งชันโรงจากป่าชายเลนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดซึ่งสอดคล้องกับสีของน้ำผึ้ง ทั้งนี้ผู้วิจัยยังพบว่าเมื่อทำการพัฒนาตำรับลูกอมเม็ดนิ่มจากน้ำผึ้งชันโรงและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ความเข้มข้น 500 ซ mg/ml มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าน้ำผึ้งชันโรงที่ 88.87-89.05% โดยวิธี DPPH และ ABTS ตามลำดับ ซึ่ง ฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดอันกิริยาที่เสริมฤทธิ์กันของสารที่ผสมในลูกอมเม็ดนิ่มกับน้ำผึ้งชันโรง งานวิจัยนี้ยังศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิค FTIR and FT-RAMN spectroscopy ในการทานายสารฟีนอล ลิกในน้ำผึ้งชันโรง ซึ่งผลการศึกษาพบเทคนิค FTIR spectroscopy และวิธีทั่วไปที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลลิก (Follin Ciocaltue) มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ที่สูงถึง 98.75% ค่าความคลาดเคลื่อนในการทำนายเท่ากับ 0.0833% ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยทั้งหมด 0.00159% และสัดส่วนระหว่างค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.94 ในขณะที่เทคนิค FT-RAMAN spectroscopy และวิธีทั่วไปมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ที่ 78.44% ค่าความคลาดเคลื่อนในการทำนายเท่ากับ 0.379% ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยทั้งหมด 0.0432% และสัดส่วนระหว่างค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.1 ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์นี้จึงสรุปได้ว่าวิธี FTIR spectroscopy สามารถใช้ในการทำนายปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกในน้าผึ้งชันโรงได้อย่างแม่นยา ซึ่งการศึกษานี้เป็นรายงานครั้งแรกในการใช้เทคนิค FTIR และ FT-RAN spectroscopy ในการทานายปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกในน้ำผึ้งชันโรง โดยโครงการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มมูลค่าของน้ำผึ้งชันโรงของสารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกอมเม็ดนิ่มจากน้ำผึ้งชันโรง อีกทั้งเป็นการประยุกต์ใช้เทคนิค FTIR และ FT-RAMAN spectroscopy ในการวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงคุณภาพและกึ่งปริมาณเพื่อใช้ในเชิงพานิชย์ของน้ำผึ้งชันโรงต่อไปได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3707
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_198.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น