กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3680
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorดุสิต ขาวเหลือง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-10-02T03:45:33Z
dc.date.available2019-10-02T03:45:33Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3680
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการดำเนินการส่งเสริม จัดการเรียนรู้จาก การทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของการส่งเสริมการจัดเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก และ 3) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัด เรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของ สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) คือตัวแทนของ สถานประกอบการทั้ง 5 แห่งและตัวแทนสถาบันการศึกษาทั้ง 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้วิธี เชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และสังเคราะห์ ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัดเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคม อุตสาหกรรมภาคตะวันออกและได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคม อุตสาหกรรมภาคตะวันออก สามารถจำแนกได้ 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านการเรียนการ สอน 3) ด้านผู้เรียน 4) ด้านอาจารย์ผู้สอน 5) ด้านสถานประกอบการ และ 6) ด้านการเงิน และการ ดำเนินการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาค ตะวันออก สามารถสรุปได้ว่า มีการดำเนินการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานที่ใช้ในการจัดการ เรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ การฝึกงาน ระบบทวิภาคี และสหกิจศึกษา 2. ปัจจัย เงื่อนไขและแนวทางของการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำไปใช้ในการ พัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านหลักสูตร 2. ด้านการเรียนการสอน 3. ด้านผู้เรียน 4. ด้านอาจารย์ผู้สอน 5. ด้านสถานประกอบการ 6. ด้านสถานศึกษา 7. ด้านงบประมาณ 3. ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประกอบไปด้วย (3.1) วิสัยทัศน์ มุ่งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จาก การทำงานเป็นฐาน (3.2) พันธกิจ ส่งเสริมให้องค์กรดำเนินการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐาน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนากำลังคน (3.3) เป้าประสงค์ (3.3.1) ได้ ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานของสถานประกอบการและสถานศึกษา (3.3.2) ได้แนวทางที่ช่วยส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานประสบความสำเร็จ (3.4) ประเด็นยุทธศาสตร์ 7 ด้าน 7 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (3.4.1) ด้านหลักสูตร ยุทธศาสตร์ คือ การร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะทางวิชาชีพและการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะ ทางวิชาชีพโดยเน้นการมีส่วนร่วม (3.4.2) ด้านการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ คือ การจัดการเรียน การสอนที่มุ่งเน้นสมรรถนะวิชาชีพ และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาคทฤษฎีควบคู่การ ปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (3.4.3) ด้านการพัฒนาผู้เรียน ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ และ การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ (3.4.4) ด้านครูผู้สอน ครูฝึก ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาสรรถนะและประสบการณ์การจัดการเรียนรู้/ ฝึกงานสำหรับครูผู้สอน/ ครูฝึก/ พี่เลี้ยง และการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ/ การนิเทศการฝึกปฏิบัติงาน (3.4.5) ด้านสถานประกอบการยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาความพร้อมของสถานประกอบการให้เป็นแหล่งฝึกงานวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนา/ ปรับปรุงระบบและกลไกในการฝึกงาน (3.4.6) ด้านสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาความพร้อมของครู/ บุคลากรใน สถานศึกษา และการพัฒนา/ ปรับปรุงระบบและกลไกในการฝึกงาน (3.4.7) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานระหว่างสถานศึกษา สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรที่เกี่ยวข้องth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการเรียนรู้th_TH
dc.subjectการทำงานth_TH
dc.subjectสถานประกอบการth_TH
dc.titleการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐาน ของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe Development of Strategies to Enhance Work-Integrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Regionen
dc.typeResearch
dc.author.emaildusit@buu.ac.thth_TH
dc.year2562
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) to study problems and operations in Work-integrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region 2) to analyze factors and conditions to contribute and enhance Workintegrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region 3) to develop strategic plan to enhance Work-integrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region. This research was done in qualitative research method. The collected data from 30 key informants who were represented of 5 private enterprises and 5 institutions in The Industrial Estate in The Eastern Region. The research used data analysis, interviews, and synthesized strategic plan to enhance Work-integrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region and had been verified by experts in the focus group discussion. The research findings were summarized as follows: 1. Problems in Work-integrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region have divided into 6 aspects including: 1) curriculum 2) instructions 3) students 4) instructors 5) Private Enterprises 6) finance and operations in Work-integrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region have divides into 3 models including: Apprentice, Dual Vocational Training: DVT and Cooperative Education. 2. Factors, conditions and guidelines to contribute and enhance Workintegrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region which have divided into 7 aspects including: 1) curriculum 2) instructions 3) learners 4) instructors 5) private enterprises 6) institutions 7) budget 3. Strategic to enhance Work-integrated Learning of Private Enterprises in The Industrial Estate in The Eastern Region consisted of (3.1) Vision, to contribute and enhance Work-integrated Learning (3.2) Mission, namely encourage organizations operate in Work-integrated Learning with a variety of activities to suit and consistent with the needs of manpower developmental (3.3) Objectives, namely (3.3.1) Strategic plans to enhance Work-integrated Learning of Private Enterprises and institutions (3.3.2) guidelines to contribute and enhance successful Work-integrated Learning implementation (3.4) Strategy consisted of 7 aspects 7 main strategies namely (3.4.1) curriculum, strategies were collaboration in and participation with development of occupational competency–based curriculum (3.4.2) instructions, strategies were instructional for encourage occupational competence and instructional in Active Learning with theory and practice (3.4.3) learners development, strategies were learners development with occupational competence that consistent of new and high technology and meet the desirable characteristics and needs of private Enterprises (3.4.4) instructors and mentors, strategies were development of competence and experience in work-integrated learning/ apprentice for instructors and mentors and development of administration and supervision skill in apprentice (3.4.5) private enterprises, strategies were development of readiness preparation on learning resources for efficiency apprentice and development/ improvement of system and protocol in apprentice in private enterprises (3.4.6) institutions, strategies were development of readiness preparation of teachers and educational personnel in institutions (3.4.7) to encourage participation and collaboration in cooperation network, strategy was development of cooperation network in work-integrated learning between institutions, private enterprises, professional association, community, and relevant sectors and organizationsth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_184.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น