กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3674
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจารุนันท์ ประทุมยศ-
dc.contributor.authorณิษา สิรนนท์ธนา-
dc.contributor.authorศิริวรรณ ชูศรี-
dc.contributor.authorธนกฤต คุ้มเศรณี-
dc.date.accessioned2019-09-30T07:08:22Z-
dc.date.available2019-09-30T07:08:22Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3674-
dc.description.abstractพฤติกรรมการกินดาวทะเลโดยเฉพาะดาวแดง (Linckia multifora) ของกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) เป็น อุปสรรคต่อการเพาะเลี้ยงในฟาร์มและต่อการขยายกิจการให้เป็นเชิงพาณิชย์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ ผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลกทดแทนการเลี้ยงด้วยดาวแดง (Linckia multifora) มีชีวิต การวิจัยระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของกุ้งตัวตลก (H. picta) ต่อกลิ่นสารเคมีในดาวทะเลและสารเคมีบางชนิดที่เป็น องค์ประกอบหลักของดาวทะเล ทดสอบกุ้งตัวตลก (H. picta) จำนวน 198 ตัว ขนาดน้ าหนัก 0.5-1.0 กรัมและ ความยาว 1.50-2.55 เซ็นติเมตร กับสารเคมีทดลองแต่ละทรีตเมนต์ในอุปกรณ์ Y-shaped choice chamber ด้านบนของปลายทั้งสองข้างของ Y-shaped choice chamber มีกล่องปริมาตร 2 ลิตรข้างละ 1 กล่องซึ่งข้าง หนึ่งใส่สารละลายสำหรับทดลองและอีกข้างหนึ่งใส่น้ำทะเลความเค็มประมาณ 33 พีพีที อัตราการปล่อย สารละลายทั้งสองข้างประมาณ 14-15 มิลลิลิตรต่อนาที ทรีตเมนต์ทดลองทั้งหมด 23 ทรีตเมนต์และแต่ละทรีต เมนต์ทดลองเป็นระยะเวลา 15 นาที ทรีตเมนต์ทดลองประกอบด้วย 1) น้ำทะเล (ชุดควบคุม); 2) ดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora) 1 ตัว น้ำหนัก 16.59 กรัมต่อลิตรน้ำทะเล; 3) ดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora) 10 ตัว น้ำหนัก 116.24 กรัมต่อลิตร; 4) ดาวแดงทำแห้งด้วยการ freeze-dried น้ าหนัก 150 กรัมต่อลิตร; 5) ดาว แสงอาทิตย์มีชีวิต (Luidia maculata) 1 ตัว น้ำหนัก 159.51 กรัมต่อลิตร; 6) ดาวทรายมีชีวิต (Astropecten indicus) 10 ตัว น้ำหนัก 117.90 กรัมต่อลิตร; 7) ดาวทะเล 5 แฉกมีชีวิต (Pentaceraster gracilis) 1 ตัว น้ำหนัก 48.92 กรัมต่อลิตร; 8) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเล 5 นาทีก่อนทดลอง; 9) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเล 30 นาทีก่อนทดลอง; 10) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเล 5 นาทีก่อนทดลอง; 11) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเล 30 นาทีก่อนทดลอง;12) สารละลาย L-aspartic acid ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 13) สารละลาย L-aspartic acid ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 14) สารละลาย L-aspartic acid ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 15) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 16) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 17) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อน ทดลอง 5 นาที; 18) สารละลาย monosodium glutamate (MSG) ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อน ทดลอง 5 นาที 19) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที 20) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที 21) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที 22) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที; 23) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที ผลการทดลองพบว่ากุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับน้ำทะเลไม่มีพฤติกรรมลังเลหรือหยุดเดินตลอด การทดลองและเดินสลับกันระหว่างจุดเริ่มต้นและแขนทั้งสองข้างของอุปกรณ์ กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบ กับดาวแดงมีชีวิต จำนวน 1 ตัวและ10 /ลิตรน้ำทะเล ไม่ลังเลหรือหยุดเดิน พฤติกรรมการเลือกข้างของกุ้งตัวตลก ชัดเจนในกุ้งที่ทดสอบกับดาวแดงมีชีวิต 10 ตัวเนื่องจากกุ้งตัวตลก (H. picta) เดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลาย ที่มีดาวแดง กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวแดงแดง (L. multiflora) ทำแห้งด้วยการ freeze-dried และกุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวแสงอาทิตย์มีชีวิต (L. maculata) เดินสลับกันระหว่างจุดเริ่มต้นและ ปลายทั้งสองข้างไม่มีรูปแบบการเดินระหว่างข้างใดข้างหนึ่งที่ชัดเจน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาว ทรายมีชีวิต (A. indicus) ไม่ลังเลเมื่อเดินเข้าไปทางที่มีดาวทรายมีชีวิตและบางตัวมีพฤติกรรมเดินกลับเข้าไปที่ ปลายข้างเดิมที่มีดาวทรายหลังและอยู่ที่ปลายข้างที่มีดาวทรายเป็นเวลานาน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ ดาวดาวทะเล 5 แฉก (P. gracilis) ลังเลหรือหยุดเดินเและมีแนวโน้มเดินไปทางที่มีกล่องบรรจุน้ าทะเลมากกว่า เดินไปทางที่มีดาวทะเลห้าแฉก กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับสารละลายซาโปนินในระดับความเข้มข้น 0.1%และ 0.2% มีพฤติกรรมลังเลในการเดินหรือหยุดเดินและการกระโดด ที่ระดับความเข้มข้นของซาโปนิน 0.1% กุ้งตัวตลก(H. picta) มีพฤติกรรมเดินและเดินกลับเข้าไปที่ปลายทั้งสองข้างที่มีและไม่มีสารละลายซาโปนิน แต่ที่ระดับความเข้มข้น 0.2% กุ้งตัวตลก (H. picta) เดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายข้างที่ไม่มีสารละลายซา โปนิน0.2% มากกว่า กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ L-aspartic acid ที่ระดับความเข้มข้น 0.1%-0.3% มี พฤติกรรมการลังเลหยุดเดินและมีแนวโน้มเลือกเดินไปปลายข้างที่มีน้ าทะเล กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ glycine ความเข้มข้น 0.1% และ 0.2% ไม่ลังเลในการเดินและไม่มีรูปแบบการเดินอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ ชัดเจน แต่ที่ระดับความเข้มข้น 0.3% กุ้งตัวตลก (H. picta) บางตัวมีพฤติกรรมเดินออกและเดินกลับเข้าไปทาง ปลายข้างที่มีน้ าทะเล กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG ความเข้มข้น 0.1% มีพฤติกรรมการหยุดเดินแต่ ไม่มีรูปแบบการเดินอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ชัดเจน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบ MSG 0.2% และ 0.3% มีพฤติกรรมเหมือนกันคือการหยุดเดิน กระโดดหรือกางก้าม กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG ความ เข้มข้น 0.2% (5 นาที) มีแนวโน้มเดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายข้างที่มีน้ำทะเลแต่กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ ทดสอบกับ MSG 0.2% (30 นาที) มีแนวโน้มอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายข้างที่มี MSG 0.2% กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG 0.3% (5 นาทีและ 30 นาที) มีพฤติกรรมเดินกลับเข้าไปซ้ำ ๆ ที่ปลายข้างเดิมและมี แนวโน้มเดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายทั้งสองข้างที่มีและไม่มี MSG 0.3% โดยสรุป ดาวทรายมีองค์ประกอบทางเคมีสามารถดึงดูดกุ้งตัวตลกให้เข้าหาอาหารได้ดีกว่าดาวทะเลชนิด อื่นๆ กุ้งตัวตลก (H. picta) ตอบสนองต่อดาวแดงแห้ง (freeze-dried) ยังอยู่ในระดับที่สามารถนำมาใช้เป็น วัตถุดิบอาหารชนิดหนึ่งในการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลก (H. picta) แต่ควรเพิ่มสารเคมีที่ดึงดูดให้กุ้งตัวตลก เข้าหาอาหาร การศึกษาในระยะต่อไปเป็นการผลิตอาหารทดลองให้กุ้งตัวตลกกินโดยคัดเลือกสารเคมีทีดึงดูดให้ กุ้งตัวตลกเข้ามาที่อาหาร เช่น MSG หรือ ซาโปนินแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้ การวิจัยระยะที่ 2 เลือกชนิดสาร 3 ชนิดจากการทดลองระยะแรก (ปีที่ 1) มาผสมในอาหารเพื่อเป็นสารดึงดูด กลิ่นในอาหารทดลองกุ้งตัวตลก (H. picta) ในการทดลองเบื้อต้นทำการทดสอบสารดึงดูดกลิ่นในอาหารผสมที่มี สารดึงดูดกลิ่นในอาหารผสม 9 ชนิด ได้แก่ อาหารทดลองทุกชนิดมีอาหารผสมหลักคือเนื้อปลาขูด วีทกลูเต็นและ น้ำแตกต่างกันที่ระดับของสารเคมีที่ใส่เพื่อเป็นสารดึงดูดกลิ่น อาหารทดลองชนิด 1-3 มีสารดึงดูดกลิ่น กรดอมิ โน L-aspartic acid 0.3%, 0.5% และ 1.0% อาหารทดลองชนิดที่ 4-6 มีสารดึงดูดกลิ่น กรดอมิโน Mono sodium glutamate (MSG) 0.3%, 0.5% และ 1.0% และอาหารทดลองชนิดที่ 7-9 มีสารดึงดูดกลิ่น ซาโปนิน 0.3%, 0.5% และ 1.0% ทดลองกับกุ้งตัวตลก (H. picta) ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยง (F1) น้ำหนักระหว่าง 0.650.71 กรัม ความยาว 2.00-2.35 เซ็นติเมตร จำนวน 18 ตวั (3 ตัวต่อชนิดอาหาร) ทดลองในกล่องพลาสติกบรรจุ น้ำทะเล 500 มิลลิลิตร ในระยะเวลา 2 นาที อดอาหารกุ้งตัวตลก (H. picta) ก่อนทดลอง 1 สัปดาห์ พบว่ากุ้งตัว ตลก (H. picta) ไม่ตอบสนองต่ออาหารผสมที่มีกรดอมิโนทั้งสองชนิดในทุกระดับความเข้มข้นและไม่ตอบสนอง ต่ออาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 0.3% แต่กุ้งตัวตลก (H. picta) ตอบสนองต่ออาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 0.5%-1.0% โดยกุ้งตัวตลก (H. picta) ทดสอบกับอาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 0.5% ขยับหนวดเล็กน้อยและ อยู่กับที่ในขณะที่กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับอาหารผสมที่มีซาโปนินในอัตรา 1.0% ขยับหนวดและเดิน เข้าหาอาหาร การทดลองที่ 2 กุ้งตัวตลก (H. picta) จ านวน 60 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 0.89 ± 0.00 กรัม ความยาวเฉลี่ย 2.28 ± 0.01เซ็นติเมตร ให้กินอาหารผสมที่มีซาโปนิน 1.0% และกุ้งตัวตลก (H. picta) จำนวน 60 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 0.64 ± 0.00 กรัม ความยาวเฉลี่ย2.14 ± 0.01 เซ็นติเมตร ให้กินดาวแสงอาทิตย์แช่แข็งเป็นระยะเวลา 30 วัน ทำการทดลองในตู้ 30 ลิตรที่ต่อกับระบบปิดที่มีบ่อพักน้ำเพื่อใช้ในการหมุนเวียน ในระบบขนาด 70 ตัน พบว่ากุ้ง ตัวตลกทุกตัว (H. picta) กินอาหารผสมที่มีซาโปนิน 1.0% แต่กุ้งทยอยตายและตายหมดภายในระยะเวลา 1 เดือน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่เลี้ยงด้วยดาวแสงอาทิตย์แช่งแข็งเริ่มตายหลังทดลอง 24-29 วัน สรุป มีความ เป็นไปได้ในการเลี้ยงกุ้งตัวตลกด้วยอาหารที่ผลิตขึ้นแต่ต้องทดสอบระดับความเข้มข้นของชนิดวัตถุดิบอาหารและ ชนิดสารเคมีที่ใช้เป็นสารดึงดูดกลิ่นในอาหารให้เหมาะสมและกุ้งรอดตายth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.titleการเลี้ยงกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นทดแทนการเลี้ยงด้วยดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora)th_TH
dc.title.alternativeCulture of harlequin shrimp (Hymenocera picta) on artificial feed to substitute the use of live comet seastar (Linckia multifora)th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailjarunan@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailpiyawan@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsiriwanc@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailthanakitk@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe dietary preference for fresh comet seastars, Linckia multifora, exhibited by captive maintained populations of harlequin shrimp, Hymenocera picta, is a bottleneck to their sustainable, commercial scale aquaculture. The current study, therefore, set out to produce a complete artificial diet to replace the need for using live starfish. The first phase of the project, set out to study the behavioural responses of H. picta to various seastars and to selected chemicals which are found within seastars. To explore this, a total of 216 H. picta (0.5-1.0g weight range; 1.50-2.55 cm length) were used in a series of chemicals trials conducted in a Yshaped choice chamber to investigate their responses to the different diets and chemicals. Above each of the two arms of the Y-shaped chamber, a 2-L reservoir was positioned – one containing 33 ppt seawater, the other the test compound. The flow rate from each reservoir into the chamber was balanced and adjusted so that a rate of 14-15 mL min-1 was used; each trial ran for 15 minutes. A total of 23 different experimental conditions were evaluated: 1) SW (seawater control); 2) live comet seastars in seawater at a dose of 16.59g / L; 3) live comet seastars in seawater at a dose of 116.24g / L; 4) freeze-dried comet seastar tissue at a dose of 150 g/ L; 5) live eight-armed seastars, Luidia maculata, in seawater at a dose of 159.51g/L; 6) live sandstars, Astropecten indicus, in seawater at a dose of 117.90g /L; 7) a live specimen of Pentaceraster gracilis in seawater at a dose of 48.92g/ L; 8) 0.1% saponin made 5 min before investigation; 9) 0.1% saponin made 30 min before investigation; 10) 0.2% saponin made 5 min before investigation; 11) 0.2% saponin made 30 min before investigation; 12) 0.1% L-aspartic acid made 5 min before use; 13) 0.2% L-aspartic acid made 5 min before use; 14) 0.3% Laspartic acid made 5 min before use; 15) 0.1% glycine made 5 min before use; 16) 0.2% glycine made 5 min before use; 17) 0.3% glycine made 5 min before use; 18) 0.1% monosodium glutamate made 5 min before use; 19) 0.2% monosodium glutamate made 5 min before use; 20) 0.3% monosodium glutamate made 5 min before use; 21) 0.1% monosodium glutamate made 30 min before use; 22) 0.2% monosodium glutamate made 30 min before use; and, 23) 0.3% monosodium glutamate made 30 min before use; The results found that: 1) for the control group, the shrimp conitnue to explore the apparatus but show no preference for either arm of the chamber; 2) and 3) the shrimp walked towards the positive arm dispensing seawater in which live L. multifora were held but the response was stronger for the higher concentration; 4) freeze dried L. multifora and 5) live L. maculata the shrimp showed no preference for either arm; 6) there was a strong positive response to water in which live A. indicus were held with the shrimp moving without hesitating directly to the source, then briefly exploring the arm before returning to the source once again with some of the shrimp remained at the source; 7) shrimp exposed to P. gracilis-bathed seawater, displayed a negative response by moving to the control arm of the chamber; 8)-11) the shrimp exposed to the different saponins moved positively towards both arms but were hesitant and wary in their behaviour which was punctuated by sudden jumps backwards trying to avoid the chemicals at the higher concentration; 12)-14) shrimp exposed to the L-aspartic acid appeared to show a negative response to the chemical, displaying a tendency to move into the control arm of the chamber; 15)-17) the shrimp appeared to disinterested by the chemical, showing no clear response for either arm of the chamber, but moving towards the sea water was observed at the higher concentration; 18)-23) at the lower 0.1% dose of MSG, the shrimp did not display a clear preference for either arm of the chamber. At the 0.2% dose of MSG, the shrimp appeared to jump backwards together with their claws raised. The shrimp exposed to 0.2% saponin (5 min) had a tendency towards the sea water but when exposed to 0.2% saponin (30 min) the shrimp moved positively towards the test source. A similar positive, claws raised response was seen when exposed to 0.3% saponin with the shrimp exploring the arm of the chamber only to return to the positive source. In conclusion, from the conditions and chemicals investigated here, the strongest positive response displayed by the harlequin shrimp was in response to water in which live specimens of sandstars, A. indicus, had been held. The response of shrimp to freeze-dried seastar seems to be useable as a feed ingredient in a complete diet for H. picta. The study has also shown the utility of feed attractants such MSG and saponin solutions, and their inclusion, at the correct concentration may also be considered. The second phase of this project plans to use the most promising chemicals identified here as chemo- attractants for incorporation into an artificial formulated feed for harlequin shrimp. Using the experimental results from the first phase of the project, three chemicals were selected for use as feed attractants, incorporated into the experimental diets, in the second phase of the project. A preliminary study set out to investigate the shrimps’ responses to a series of nine experimental diets of which the basal feed ingredients were fresh fish, wheat gluten and water. All the experimental diets were similar in their base composition but differed in the inclusion rate of the various feed attractants. For example, experimental diets 1-3 contained 0.3%, 0.5% and 1.0% amino acid L-aspartic acid; experimental diets 4-6 contained 3%, 0.5% and 1.0% sodium mono glutamate (MSG); while, experimental diets 7-9 contained 0.3%, 0.5% and 1.0% saponin. A total of 18 specimens of H. picta (0.65-0.71 g weight range; 2.00-2.35 cm length) were used for the assessment, with three individuals being assigned per treatment. The harlequin shrimp were starved for 1 week prior to initiating the trial; trials were run by placing a single shrimp in a plastic box containing 500 ml sea water for 2 minutes. The H. picta showed no interest in the experimental diets containing either Laspartic acid or MSG at any of the inclusion rates used. The shrimp did not respond to the diet containing 0.3% saponin but did respond to those containing higher rates of inclusion. When presented with the diet containing 0.5% the shrimp displayed some minor flicking of their antennae, while in response to the diet containing 1.0%, the shrimp moved their antennae and then walked towards the diet. In the second trial, two batches of shrimp, the first batch consisting of 60 H. picta (0.89 ± 0.00 g weight, 2.28 ± 0.01 cm length) were fed an experimental diet containing 1.0% saponin, while a second batch of 60 shrimp (0.64 ± 0.00g weight, 2.14 ± 0.01 cm length) were fed a diet of frozen eight-arm sea stars, respectively for one month. The feeding trials were conducted in 30-litre glass tanks linked to a larger 70-ton sea water reservoir as part of closed recirculation system. All the H. picta readily accepted the experimental diet containing 1.0% saponin, but the entire batch shrimp gradually died within a period of 30 days. The H. picta fed on a diet of frozen eight-arm sea stars also began to die after feeding for approximately 24-29 days. The trials show that the aquaculture of H. picta using experimental diets that incorporate fresh fish and feed attractants is possible, however, further work in formulating the base diet and the inclusion dose of an appropriate feed attractant requires further investigation to ensure that the harlequin shrimp population can be maintained in captivity without lossth_TH
dc.keywordกุ้งตัวตลกth_TH
dc.keywordเทคโนโลยีการผลิตอาหารth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_178.pdf2.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น