กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3668
ชื่อเรื่อง: ผลโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันต่อสมรรถภาพทางกาย สภาวะอาการ สภาวะการทำหน้าที่และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of enhancement of daily physical activity program on physical fitness, symptom status, functional status, and quality of life among the people with chronic obstructive pulmonary disease
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ด้วงแพง
ปวริศา กำจายกิตติกุล
พัทธ์ชนก วิถีธรรมศักดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: สมรรถภาพทางกาย
การส่งเสริมสุขภาพ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การปฏิบัติกิจกรรมทางกายในชีวติประจำวันเป็นแนวทางหนึ่งในการออกกำลังกาย และฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวัน ต่อสมรรถภาพทางกาย สภาวะอาการ สภาวะการทำหนา้ที่ และคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาที่คลินิกโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 38 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 19 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายใน ชีวติประจำวันทุก 3 เดือน จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 40-60 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามปกติ ประเมินผลโปรแกรมด้วยการการเดินในระยะเวลา 6 นาที แบบประเมินสภาวะ อาการแบบประเมินสภาวะการทำหน้าที่ และแบบวัดคุณภาพชีวิตจำนวน 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง ระยะระหว่างการทดลอง และเมื่อการทดลองสิ้นสุดลง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิตพิรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ดว้ย Bonferroni ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายในระยะก่อนการทดลองแตกต่าง จากระยะระหว่างการทดลองอย่างที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพ ชีวิตของกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลองระหว่างการทดลอง และระยะสั้นสุดการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยสภาวะอาการและคะแนน เฉลี่ยสภาวะการทำหน้าที่ของกลุ่มทดลองในระยะก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และระยะสั้นสุดการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยสภาวะอาการในกลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกาย สภาวะการทำหน้าที่ และคุณภาพชีวิตในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3668
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_158.pdf1.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น