กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3661
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกิจฐเชต ไกรวาส
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2019-07-30T06:36:36Z
dc.date.available2019-07-30T06:36:36Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3661
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้โดยใชัปัญหา เป็นฐานในการส่งเสริม ความเข้มแข็งของชุมชนต้นแบบที่ดีในภาคตะวันออก 2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนต้นแบบที่ดีในภาคตะวันออก 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ต้นแบบที่ดีในภาคตะวันออก และ 4) กำหนดแนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนอื่น ๆ ในภาคตะวันออกและในภาคอื่น ๆ ของประเทศโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) ในชุมชนต้นแบบที่ดี 7 แห่งในภาคตะวันออก ประกอบด้วย (1) ชุมชนบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ชุมชนบ้านทุ่งน้อย อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี (3) ชุมชนบ้านจำรุง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (4) ชุมชนบ้านโสนน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (5) ชุมชนบ้านดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี (6) ชุมชน บ้านสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และ (7) ชุมชนบ้านห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยทำการศึกษาในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) 3 กลุ่มประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้นำชุมชน (2) กลุ่มปราชญ์ชุมชน และ (3) ตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการจำแนกและการเปรียบเทียบข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 7 ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนที่ครอบคลุม (1) การรับรู้และตระหนักในความสำคัญของปัญหาร่วมกัน (2) การร่วมกัน ค้นหาสาเหตุของปัญหา (3) การร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และ (4) ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยมี ปัจจัยความสำเร็จในการนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของ ชุมชนที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ผู้นำชุมชนมีความเสียสละ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ, ชาวบ้านในชุมชนมีความสามัคคี, หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน และมีการส่งเสริมการออมเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาและอุปสรรคในการนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ในการส่งเสริม ความเข้มแข็งของ 7 ชุมชนมีความแตกต่างกันไป โดยกลุ่มหนึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านการดำเนินงาน อาทิ ปัญหาการไม่สามารถจัดการกลุ่มที่มีสมาชิกจำนวนมาก และปัญหาการขาดแคลนเยาวชน และคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมและสืบทอดกิจกรรม เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านการจัดการ อาทิ ปัญหาการขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงผู้นำทำให้กระบวนการ ส่งเสริมความเข้มแข็งหยุดชะงัก เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาth
dc.subjectกระบวนการเรียนรู้th_TH
dc.subjectการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานth_TH
dc.subjectการแก้ปัญหา -- กิจกรรมการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษากระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeProblem - Based Learning Process for Empowerment Promotion of Community in the Easternen
dc.typeResearchen
dc.year2561en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to study: 1) The problem - based learning processes, 2) success factors, and 3) problems and obstacles in problem - based Learning for empowerment promotion of the best practice communities in the Eastern. Qualitative research and participation action research were used to collect data in the seven best practice communities in the Eastern including: (1) Bansong community, Phanom Sarakham District, Chachoengsao Province (2) Ban Thung Noi community, Bo Thong District, Chonburi Province (3) Ban Jumrung community, Klaeng District, Rayong Province (4) Ban Snownoi community, Aranyaprathet District, Sa Kaeo Province (5) Ban Dongkelek community, Muang District, Prachinburi Province (6) Ban Songphinong community, Thamai District, Chanthaburi Province and (7) Huangnamkhaw community, Muang District, Trad Province. The Key Informants of this study including: 1) community leaders, 2) philosophers 3) Representatives of various groups in the community. The qualitative data analysis was done by using with typological analysis and comparison analysis. The results revealed that the seven best practice communities have problem - based learning processes for empowerment promotion of communities as following: (1) recognize the importance of common problems (2) finding the cause of the problems (3) formulating the problem solutions (4) community strengthened. The success factors in using problem - based learning for empowerment promotion of communities are similar such as the community leaders are sacrifice and dedicated, community members are unity, government agencies support and promote the money saving as a source of community funding etc. In addition, the problems and obstacles in the problem - based learning process for empowerment promotion of community are different. The first group, there are the problems and obstacles in operation such as the unmanageable group because of there are too many members, and the shortage of youth and new generations to be a part and inherited activities etc. And another group, there are the problems and obstacles in management such as lack of preparedness for leader changing cause the process to promote strengthened is paused etc.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_150.pdf2.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น