กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3648
ชื่อเรื่อง: การปกป้องระบบประสาทของสารสกัดขมิ้นชันสายพันธุ์ภาคตะวันออกของประเทศไทยในแบบจำลองโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองสัตว์ทดลอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Neuroprotection of Thai-Eastern Indigenous Curcuma longa L. Extract in Animal Models of Vascular Dementia
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรัชญา แก้วแก่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ขมิ้นชัน
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคสมองเสื่อม
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองเป็นภาวะหนึ่งที่มีอุบัติการณ์เกิดโรคสูงและส่งผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิตของประชาการไทย โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองสัตว์ทดลองจากการศึกษาที่ผ่านมาที่ รายงานกลไกของอนุมูลอิสระต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดขมิ้นชัน ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่าสารสกัดขมิ้นชันสายพันธุ์ภาคตะวันออกสามารถมีฤทธิ์ต่อการปกป้องเซล์ ประสาท ตลอดจนการผลต่อการเพิ่มการเรียนรู้และความจำ ในการศึกษานี้ผู้วิจัยจึงได้นำสารสกัดแอลกอฮอล์ของสารสกัดขมิ้นชัน ขนาดต่าง ๆ ได้แก่ 100, 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวมาป้อนหนูขาว พันธุ์ Wistar เพศผู้น้ำหนักประมาณ 280-320 กรัม จากนั้นนำมาเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะจำลองโรคพาร์กินสัน ด้วยการฉีดสาร 6-OHDA แล้วนำมาประเมินการเปลี่ยนแปลงของอนุมูลอิสระที่พบในเนื้อเยื่อสมองหนูแรท โดยการประเมิน การเปลี่ยนแปลง oxidative stress markers ได้แก่ ปริมาณ Malondialdehyde (MDA) การทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ Superoxide dismutase (SD), Catalase (CAT) และ Glutathione peroxidase (GPx) ในสมองส่วน Cerebral cortex, Striatum และ Hippocampus พบว่าหนู แรท กลุ่มที่ได้รับ สารสกัดขมิ้นชัน มีการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระที่กล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้น และพบการเปลี่ยนแปลงของการลดลงของ MDA ลดลงทุกขนาดของสารสกัด และเมื่อประเมินผลการให้สารสกัดขมิ้นชัน ในการปกป้องสมองพบว่า หนูแรทกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ความหนาแน่นของเซลล์ประสาทที่รอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของเซลล์ประสาท Bcl-2 เพิ่มมากขึ้น และความหนาแน่นของเซลล์ประสาท Caspase-3 ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน ดังนั้นการวิจัยนี้แสดงถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดขมิ้นชันในวิถีอะพอพโทซิสได้ อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์หลักของสารสกัดขมิ้นชันนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3648
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_138.pdf919.04 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น