กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3632
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.authorรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.authorนิรวรรณ ทองระอา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-07-19T02:59:32Z
dc.date.available2019-07-19T02:59:32Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3632
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experiment Research) มีรูปแบบ การศึกษาแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (nonequivalent control group pretest posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพต่อความมั่นใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ ไม่สูบบุหรี่ ความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ ไม่สูบบุหรี่ และความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น วัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงาน การศึกษาพิเศษ 2 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 40 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง (self-efficacy) ของ Bandura (1997) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะภายในตนจากทั้ง 4 แหล่งกำเนิด ได้แก่ 1) การกระทำที่บรรลุผลสำเร็จ 2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น 3) การชักจูงด้วยคำพูด และ 4) ภาวะทางกายและอารมณ์ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ และติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงภายหลัง 4 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (t-test) ที่ระดับ นัยสำคัญสถิติ .05 ผลการศึกษา พบว่า 2. กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม ฯ มีความมั่นใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (t=3.683, p value=.001) ความมั่นใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=1.807, p value=.039) ความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ (t=2.563, p value=.007) ความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=3.726, p value=.001) และความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ (t=3.816, p value<.001) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ 2. กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม ฯ มีความมั่นใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (t=2.561, p value=.012) ความมั่นใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=2.950, p value=.004) ความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ (t=1.884, p value=.032) ความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ (t=1.836, p value=.035) และ ความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ (t=6.004, p value<.001) สูงกว่าวัยรุ่น ฯ กลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมไปประยุกต์เพื่อพัฒนากิจกรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงในการเสริมสร้างศักยภาพวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อันจะนำไปสู่การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นกลุ่มนี้ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรฐับาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectเครื่องดื่มแอลกอฮอล์th_TH
dc.subjectการสูบบุหรี่th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลแ์ละสูบบุหรี่ ในวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (ระยะที่ 2)th_TH
dc.title.alternativeAlcohol Drinking and Smoking Prevention for Hearing Impaired Adolescents (Phase II)en
dc.typeResearch
dc.author.emailpornnapa@buu.ac.th
dc.author.emailrungratsr@buu.ac.th
dc.year2562
dc.description.abstractalternativeThis study was a quasi-experimental study with nonequivalent groups. The purpose of the study was to evaluate the effects of a self-efficacy enhancement program on alcohol drinking/ smoking refusal self-efficacy, intention not to drink alcohol/ not to smoke, and health communication ability. The participants were hearing impaired adolescents studying in schools for the deaf, Special Education Bureau. They were divided into experimental and comparative groups of 40 people each. The experimental group participated in self-efficacy enhancement program. The program with a period of 5 weeks was developed based on the concept of Bandura (1997) including enactive mastery experience, modeling, verbal persuasion, physiological and affective states. The comparison group participated in the basic core curriculum. The outcomes of the study were evaluated after 4 weeks. The descriptive statistic: percentage, mean, standard deviation, and t-test were used for data analysis at the significant level of 0.05. The results of the study: 1. The experimental group had the higher alcohol drinking refusal self- efficacy(t=3.683, p value=.001), smoking refusal self-efficacy(t=1.807, p value=.039), intention not to drink alcohol (t=2.563, p value=.007), intention not to smoke (t=3.726, p value=.001) , and health communication ability(t=3.816, p value<.001), compared to those in pre-experiment significantly. 2. The experimental group had the higher alcohol drinking refusal self- efficacy(t=2.561, p value=.012), smoking refusal self-efficacy(t=2.950, p value=.004), intention not to drink alcohol (t=1.884, p value=.032) , intention not to smoke (t=1.836, p value=.035) , and health communication ability(t=6.004, p value<.001), compared to those in comparative group significantly. The study is useful for those involved to apply the program for activity development tailored to enhancing potential of adolescents with hearing impairment, so as to prevent them from risk behaviorsen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_122.pdf3.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น