กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/363
ชื่อเรื่อง: การทดลองรูปแบบการจัดห้องเรียนเพื่อส่งเสริมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An experiment on classroom model conducive to preschool children's readiness
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนงค์ วิเศษสุวรรณ์
สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
ภรณี อินทศร
สมประสงค์ ประสงค์เงิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาชั้นอนุบาล
การศึกษาปฐมวัย
ห้องเรียน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2533
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การทดลองรูปแบบการจัดการห้องเรียนเพื่อส่งเสริมความพร้อม ของเด็กก่อนวัยเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองรูปแบบการจัดห้องเรียน โดยใช้การเสริมแรงทางสังคม ในการสร้างและส่งเสริมความพร้อมแก่เด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นเด็กเล็กในระยะแรกเข้าเรียน โรงเรียนอนุบาลชลบุรี อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2533 จำนวน 14 คน ได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมความไม่พร้อมด้านการร้องไห้และการแยกตัว แล้วสุ่มอย่างง่าย เพื่อแยกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มรวบคุม กลุ่มละ 7 คนเด็กในกลุ่มทดลองได้รับการสเสริมแรงทางสังคมจากครู ทันทีที่มีพฤติกรรมความพร้อมคือหยุดร้องไห้และไม่แยกตัว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลจากครูตามปกติ การดำเนินการทดลอง ใช้เวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน รวม 10 วัน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตพฤติกรรมไม่ร้องไห้และไม่แยกตัว ของเด็กก่อนวัยเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยบันทึกพฤติกรรมช่วงละ 5 นาที ตั้งแต่เวลา 7.30 – 11.00 น. สัปดาห์แรกวันที่1-5 สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 6 -10 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความทแปรปรวนแบบวัดซ้ำ One between subjects variable and one within – subjects variable ผลการทดลองมีดังนี้ 1. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและระยะเวลาในการทดลอง พฤติกรรมความพร้อมด้านการร้องไห้และการแยกตัว ของเด็กยังคงอยู่ ทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะ 2 สัปดาห์แรกของการมาโรงเรียน 2. ความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน ในกลุ่มทดลองที่ได้รับการเสริมแรงทางสังคม ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามพบแนวโน้ม ด้านพฤติกรรมความพร้อมด้านการไม่แยกตัวในกลุ่มทดลองดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3. ความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน ในกลุ่มทดลอง ระยะสัปดาห์แรก ด้านการไม่ร้องไห้มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 31.08 สัปดาห์ที่ 2 ร้อยละ 35.39 ด้านการไม่แยกตัว สัปดาห์แรก มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 57.99 สัปดาห์ที่ 2 ร้อยละ 70.58 แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านความพร้อมของกลุ่มทดลองระยะสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 2
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/363
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น