กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3577
ชื่อเรื่อง: การแช่แข็งหัวเชื้อสาหร่ายขนาดเล็กสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Microalgae stock cryopreservation for hatchery
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชลี ไพบูลย์กิจกุล
มะลิวัลย์ คุตะโค
รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: สาหร่ายน้ำจืด -- เชื้อพันธุ์ -- การเก็บและรักษาโดยการแช่แข็ง
สาหร่ายขนาดเล็ก
สาหร่ายขนาดเล็ก -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ
คลอเรลลา -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดสาหร่ายขนาดเล็ก ชนิดสารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งต่ออัตราการรอดของเซลล์สาหร่ายขนาดเล็กที่เก็บรักษาเซลล์ด้วยวิธีการแช่แข็ง ทำการเพาะเลี้ยงสาหร่ายคลอเรลลา คีโตเซอรอส และเตตราเซลมิส ที่ความเค็ม 30 ppt ด้วยอาหารสูตร Cuillard's medium จากนั้นเก็บรวบรวมเซลล์และเติมสารละลายป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง 2 ชนิด ได้แก่ กลีเซอรอล และ DMSO ที่ความเข้มข้น 5% นำไปลดอุณหภูมิแล้วนำไปแช่ที่อุณหภูมิ -20 C เป็นเวลา 3 วัน เมื่อครบกำหนดการเก็บรักษาเซลล์สาหร่ายทำการละลาย ล้างเซลล์แล้วนำไปเพาะเลี้ยง ทำการคำนวณอัตราการรอดของสาหร่าย ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างชนิดสาหร่าย และชนิดสารละลายป้องกันการแช่แข็งคลอเรลลา มีอัตรารอดสูงที่สุด เมื่อทำการแช่แข็งด้วยสารละลาย DMSO เมื่อพิจารณาการเก็บสาหร่ายแช่แข็งด้วยสารละลายกลีเซอรอลพบว่า คลอเรลลามีอัตรารอดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เตตราเซลมิส และคีโตเซอรอส ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาการเก็บรักษาสาหร่ายแช่แข็งตามชนิดของสาหร่ายพบว่า คลอเรลลาที่เก็บรักษาด้วยสารละลาย DMSO มีอัตรารอดสูงกว่าคลอเรลลาที่เก็บรักษาด้วยสารละลายกลีเซอรอล อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เตตราเซลมิสที่เก็บรักษาด้วยสารละลายกลีเซอรอล มีอัตรารอดสูงกว่าเตตราเซลมิสที่เก็บรักษาด้วยสารละลาย DMSO อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ในขณะที่คีโตเซอรอสมีอัตรารอดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) การทดลองที่ 2 การศึกษาความเข้มข้น สารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งต่ออัตราการรอดของเซลล์สาหร่ายขนาดเล็กที่เก็บรักษาเซลล์ด้วยวิธีการแช่แข็ง ทำการเลือกชนิดสารละลายป้องกันการแช่แข็งที่สาหร่ายแต่ละชนิดมีอัตรารอดสูง เลือกสารละลาย DMSO สำหรับสาหร่ายคลอเรลลา และเลือกสารละลายกลีเซอรอลสำหรับเตตราเซลมิส และคีโตเซอรอส ศึกษาความเข้มข้นของสารละลายป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข้งที่เหมาะสม ทำการเปลี่ยนระดับความเข้มข้นของสารละลายป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง 2 ระดับ คือ 5 และ 10% ทำการทดลองเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผลการทดลองเหมือนการทดลองที่ 1 ผลการศึกษาพบว่าคลอเรลลาที่เก็บรักศสเซลล์ด้วยสารละลาย DMSO ที่ระดับความเข้มข้น 5% มีอัตรารอดของเซลล์สาหร่ายสูงกว่าการเก็บรักาเซลล์ที่ระดับ 10% อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เตตราเซลมิสที่เก็บรักษาเซลล์ด้วยสารละลายกลีเซอรอลที่ระดับความเข้มข้น 5% มีอัตรารอดของเซลล์สาหร่ายมากกว่าการเก็บรักษาเซลล์ที่ระดับ 10% อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) คีโตเซอรอสที่เก็บรักษาเซลล์ด้วยสารละลายกลีเซอรอลที่ระดับความเข้มข้น 5 และ 10% มีอัตรารอดไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3577
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_049.pdf914.15 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น