กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3576
ชื่อเรื่อง: การผลิตไม้ค้ำยันรักแร้แบบประยุกต์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Design of the modified axillary crutches
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริชญา วีระศิริรัตน์
อรชร บุญลา
พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
จันทร์ทิพย์ นามสว่าง
สราวุฒิ สิริเกษมสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: ไม้ค้ำยัน
เวชภัณฑ์
อุปกรณ์ช่วยเดิน -- การออกแบบ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การฝึกเดินโดยใช้ไม้ค้ำยันรักแร้พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บรยางค์ส่วนล่างเพื่อลดการลง น้ำหนักของขาข้างที่มีพยาธิสภาพ การฝึกเดินโดยใช้ไม้ค้ำยันรักแร้แบบมาตรฐานทําให้เกิดความไม่ สะดวกสบายในการใช้งาน รวมถึงการปรับระดับความสูง การออกแบบไม่ค้ำยันรักแร้แบบประยุกต์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมไม้ค้ำยันแบบประยุกต์ที่มีลักษณะพิเศษคือ ปรับระดับความสูงของไม้ค้ำยันได้ง่าย มีความสะดวกมั่นคง ปลอดภัย และสามารถรับแรงจากน้ำหนักตัวของผู้ใช้งาน ไม้ค้ำรักแร้แบบประยุกต์ผลิตออกมา 4 แบบ ได้แก่ วัสดุที่เป็นเหล็ก สแตนเลส และยึดโครงเดิมของไม้ค้ำยันรักแร้ที่ผลิตจากอลูมิเนียม 2 แบบ โดย เพิ่มอุปกรณ์เป็นเบรคจักรยาน และ hand piece เชื่อมลงไปในไม้ค้ำยันเดิม ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ไม่ค้ำยันรักแร้แบบประยุกต์ที่ยึดโครงเดิมจากอลูมิเนียม โดยเพิ่มเบรคจักรยาน และ hand piece มีการใช้งานที่ดีที่สุด โดยพบว่ารูปแบบไม่ค้ํายันนี้ มีคุณสมบัติคือ ปรับระดับความสูงได้ง่าย ลดแรงที่กระทําใต้รักแร้ และรองรับน้ําหนักตัวได้ดีซึ่งไม่ค้ํายันประยุกต์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมานี้อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งสําหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้ไม้ค้ํายัน แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตยังต้องมีการนําไม้ค้ำยันนี้ไปทดลองใช้ในคนปกติและผู้ป่วยต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3576
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_030.pdf2.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น