กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3543
ชื่อเรื่อง: การประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกที่มีผลต่อความสามารถในการทำงานของพนักงานเก็บเงินที่ด่านเก็บเงินในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of organic solvent exposure and exhaled nitric oxide affecting work ability among toll collectors at tolling stations in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
อรวรรณ แก้วบุญชู
มริสสา กองสมบัติสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: สารตัวทำละลายอินทรีย์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
พนักงานเก็บเงิน -- ทางเดินหายใจ
การส่งเสริมสุขภาพลูกจ้าง
อาชีวอนามัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสาร Organic solvent และการประเมินระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกรวมถึงความสามารถในการทำงานของพนักงานเก็บเงินที่ด่านเก็บเงินในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 220 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 90 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 130 คน กลุ่มศึกษามีอายเฉลี่ย ุ 36.86 ปี และ 32.97 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักในการเก็บเงินและทอนเงินอยู่ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 63.3 และทำงาน 5 วัน ต่อสัปดาห์ร้อยละ 83.3 มีการใช้อุปกรณ์ ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 10.0 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิด จมูกร้อยละ 59.3 และพบว่า มีความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.9 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=90) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 28.93±32.048 ppb, Xylene 68.17±8.591 ppb, Acetone 15.03±27.829 ppb และ Ethyl benzene 14.79±47.899 ppb และ มีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบวา่ กลุ่มศึกษา (n=90) มีค่าเฉลี่ย± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 240.09±238.143 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 175.83±116.471 mg/g creatinineและระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจ ออกของกลุ่มศึกษา (n =82) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (< 25 ppb) ร้อยละ 89.0 มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.98± 8.712 ppb นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า สาร Toluene, Xylene, Acetone และ Ethyl benzene มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(p < 0.001, p<0.001, p< 0.001 และ p= 0.004 ตามลำดับ) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของ Hippuric acid และ Methylhippuric acid ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.019 และ p=0.011ตามลำดับ) และพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณระดับไนตริคออกไซดข์องลมหายใจออกของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.002) และเมื่อหาความสัมพันธ์ พบว่าปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Organic solvent ในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคล กับความสามารถในการทำงาน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันและความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณระดับ ไนตริคออกไซดข์องลมหายใจออกกับความสามารถในการทำงาน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษามีการสัมผัสสาร Organic solvent ในขณะทำงานและปริมาณระดับไนตริคออกไซด์ของลมหายใจออกเป็นตัวยืนยันในการสัมผัสสาร Organic solvent และควรจัดให้ความสำคัญกับโปรแกรมการป้องกันควบคุมและส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการแนะนำ ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปเพื่อใหม่ความสามารถในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3543
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_092.pdf2.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น